2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของ Spirulina (Arthrospira platensis) ต่อการรอดตายและการเจริญเติบโตของกบนา (Hoplobatrachus rugulosus) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 มีนาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารนเรศวรพะเยา  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยพะเยา 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม - สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ กบนา (Hoplobatrachus rugulosus) เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีการเพาะเลี้ยงอย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นสัตว์ที่ใช้ระยะเวลาและพื้นที่ในการเลี้ยงน้อย ให้ผลผลิตสูง และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ปัญหาที่สำคัญระหว่างการเลี้ยง คือ การเจริญเติบโตไม่เท่ากันเนื่องจากการเลี้ยงในความหนาแน่นสูงและ/หรือให้อาหารไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการกัดกินกันเองของกบ ส่งผลทำให้ผลผลิตลดลง แม้ว่ามีการคัดขนาดกบระหว่างการเลี้ยงก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้นการงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ Spirulina (Arthrospira platensis) ที่ผสมในสูตรอาหารในระดับที่แตกต่างกัน 5 ระดับ คือ 0.0 (กลุ่มควบคุม), 1.5, 3.0, 4.5 และ 6.0 เปอร์เซ็นต์ ต่อการรอดตาย การเจริญเติบโต และค่าโลหิตวิทยาของกบนาที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ 5 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่า อัตราการรอดตาย น้ำหนักตัวสุดท้าย น้ำหนักตัวที่เพิ่ม อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และอัตราการแลกเนื้อของกบที่ได้รับ A. platensis และกบในกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่กบที่ได้รับ A. platensis ระดับ 4.5 เปอร์เซ็นต์มีค่าดีที่สุด นอกจากนั้นกบที่ได้รับ A. platensis ระดับ 4.5 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง haemoglobin และ haematocrit สูงที่สุด และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มควบคุม ผลจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ A. platensis ที่ระดับ 4.5 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารทำให้กบนาที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์มีแนวโน้มการรอดตาย และการเจริญเติบโตดีขึ้น ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้เป็นข้อมูลในการปรับใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงกบนาได้ 
     คำสำคัญ กบนา, สไปรูลินา, การรอดตาย, การเจริญเติบโต, ค่าโลหิตวิทยา 
ผู้เขียน
577030008-7 นาง ทาริกา ทิพอุเทน [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0