2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แนวทางการพัฒนาการบริการด้านสินเชื่อรถยนต์ของบริษัทลีสซ่ง ในเขตพิ้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยตอนบนของประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 พฤษภาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่9 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 
     สถานที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 22 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 56-65 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริการสินเชื่อรถยนต์ของบริษัทลีสซิ่ง กำหนดชื่อและให้ความหมายขององค์ประกอบสินเชื่อรถยนต์ของบริษัทลีสซิ่ง มีวิธีการศึกษาโดยใช้การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อหาตัวแปรสังเกตได้ ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ เพื่อจำแนกองค์ประกอบ และใช้การระดมสมองเพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาการบริการสินเชื่อรถยนต์ของบริษัทลีสซิ่งที่มีประสิทธิภาพ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 คน ผลการศึกษา สามารถจำแนกองค์ประกอบการบริการสินเชื่อรถยนต์ของบริษัทลีสซิ่ง ได้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การสร้างเงื่อนไขและวิธีการให้บริการที่เหมาะสม ยืดหยุ่นได้ ใช้ตัวย่อว่า “S” (2) การมุ่งสร้างการรับรู้และความพึงพอใจต่อการให้บริการที่เป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง ใช้ตัวย่อว่า “A” (3) การให้บริการด้วยสถานที่และสภาพแวดล้อมเหมาะสม สวยงาม น่ามอง ใช้ตัวย่อว่า “B” (4) ความพร้อมในการให้บริการด้านสินเชื่อของพนักงานอยู่เสมอ ใช้ตัวย่อว่า “A” และ (5) ค่างวดผ่อนตรงได้สิทธิทันที ใช้ตัวย่อว่า “I” โดยองค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายประสิทธิภาพการบริการสินเชื่อรถยนต์ของบริษัทลีสซิ่งได้ ร้อยละ 69.924 นำองค์ประกอบที่ได้กำหนดเป็นแนวทาง “SABAI” ให้นิยามว่า “การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการสินเชื่อรถยนต์ให้ สะดวก สบาย และเหมาะสมกับบริบทของลูกค้า” แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสินเชื่อรถยนต์ของบริษัทลีสซิ่ง มีจำนวน 5 แนวทาง 7 โครงการ โดยใช้งบประมาณรวม 4,230,000 บาท และคาดว่าในปีงบประมาณ 2565 การบริการสินเชื่อรถยนต์บริษัทลีสซิ่ง ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยจะมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 
ผู้เขียน
615740040-6 นาย กฤตนัย จันทร์ชมภู [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum