2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาคุณภาพแบบทดสอบวินิจฉัย เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดโมเดลวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 มิถุนายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการศึกษาศาสตร์วิจัยระดับชาติครั้งที่ 8 และนานาชาติครั้งที่ 4 นวศึกษาที่ยั่งยืนในช่วงเวลาแห่งความท้าทาย 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
     สถานที่จัดประชุม ออนไลน์ 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 มิถุนายน 2564 
     ถึง 2 มิถุนายน 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 536-551 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดโมเดลวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา (COGNITIVE DIAGNOSTIC MODEL) ด้วยการสร้างแผนผังการออกข้อสอบ (Q-Matrix) ได้จำนวน 16 ข้อ ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน กลุ่มผู้สอบในการตรวจสอบคุณภาพข้อสอบและแบบทดสอบตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) จำนวน 34 คน ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) และตามแนวคิดโมเดลวินิจฉัย G-DINA จำนวน 565 คน ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบวินิจฉัยดำเนินการสร้างข้อสอบตามคุณลักษณะ (Attribute) 5 คุณลักษณะ ได้แก่ คุณลักษณะที่ 1 การจัดรูปเศษส่วนให้ส่วนเท่ากันโดยวิธีการหา ค.ร.น. คุณลักษณะที่ 2 การบวกเศษส่วนที่ตัวตั้งและตัวบวกมีเครื่องหมายเหมือนกัน คุณลักษณะที่ 3 การลบเศษส่วนที่ตัวตั้งและตัวลบมีเครื่องหมายเหมือนกัน คุณลักษณะที่ 4 การบวกเศษส่วนที่ตัวตั้งและตัวบวกมีเครื่องหมายต่างกัน และคุณลักษณะที่ 5 การลบเศษส่วนที่ตัวตั้งและตัวลบมีเครื่องหมายต่างกัน แบบทดสอบวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความยากง่าย อำนาจจำแนก และความเที่ยงตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คุณภาพในด้านพารามิเตอร์ความยาก (b) พารามิเตอร์อำนาจจำแนก (a) พารามิเตอร์การเดา (c) ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบ (IIF) ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของแบบทดสอบ (TIF) และคุณภาพตามโมเดลวินิจฉัยในด้านค่าการเดาและความสะเพร่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สามารถนำไปใช้ทดสอบกับนักเรียนเพื่อวินิจฉัยความรู้เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วนได้ 
ผู้เขียน
625050098-9 น.ส. พรสุดา เสนไชย [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล บทความวิจัยดีเด่น ประเภทบรรยาย 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 2 มิถุนายน 2564 
แนบไฟล์
Citation 0