2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การสร้างแบบสอบคู่ขนานการรู้เคมีโดยใช้แนวคิดโมเดลข้อสอบสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 มิถุนายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัยครั้งที่ 8 และนานาชาติครั้งที่ 14 “นวศึกษาที่ยั่งยืนในช่วงเวลาแห่งความท้าทาย” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
     สถานที่จัดประชุม ออนไลน์ 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 มิถุนายน 2564 
     ถึง 2 มิถุนายน 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 162-177 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบ แบบสอบ โมเดลข้อสอบของแบบสอบคู่ขนานการรู้เคมีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบคู่ขนานการรู้เคมีที่สร้างขึ้นสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 องค์ประกอบที่ใช้ในการวัดการรู้เคมีมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ทางเคมี บริบททางเคมี ทักษะการเรียนรู้ขั้นสูง และเจตคติต่อเคมี การสร้างข้อสอบใช้แนวคิดโมเดลข้อสอบจากองค์ประกอบคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ได้แบบสอบคู่ขนาน 2 ฉบับ คือ ฉบับ A และฉบับ B แต่ละฉบับมีข้อสอบจำนวน 20 ข้อ ใช้เวลาสอบฉบับละ 30 นาที นำไปทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 30 คน เพื่อหาความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม(CTT) และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบแต่ละฉบับโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เพื่อตรวจสอบความเป็นคู่ขนานของแบบสอบ แบบสอบที่ได้นำไปใช้ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คน ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน(CFA) หาค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) ผลการวิจัยพบว่าแบบสอบคู่ขนานทั้ง 2 ฉบับ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ(S-CVI) ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาตามเกณฑ์ที่กำหนด ค่าดัชนีระดับความเป็นคู่ขนานรายข้อของฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบ(MSDIF) และดัชนีความเป็นคู่ขนานของแบบสอบของฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบ(MSDTIF) อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ แบบสอบมีความเป็นคู่ขนานกันทั้งรายข้อและรายฉบับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 
ผู้เขียน
625050103-2 น.ส. อนงค์ กณารักษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0