2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ อิทธิพลของการตอบตามความปรารถนาของสังคมที่มีผลต่อคุณภาพแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 มิถุนายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 28 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน2565
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาผลการตอบแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมต่างกัน และ 3) เปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นก่อนและหลังการตัดกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาเขตที่ 25 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 787 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือทีใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ จำนวน 33 ข้อ และ 2) แบบวัดคุณลักษณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การตอบตามความปรารถนาของสังคม โดยกลุ่มวิจัย AREASIG มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแบบวัดมาตรประมาณค่า จำนวน 35 ข้อ ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory: CTT) โดยการวิเคราะห์ 1) ความตรงเชิงเนื้อหาจากการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญ 2) ความตรงเชิงโครงสร้าง จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) 3) ค่าอำนาจจำแนกโดยการหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างการคะแนนรายข้อและคะแนนรวม (Item-total Correlation) 3) ค่าความเที่ยงโดยวิธีตรวจสอบความสอดคล้องภายในด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Method) และตรวจสอบคุณภาพตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) แบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ความรับผิดชอบต่อเพื่อน ความรับผิดชอบต่อสถานศึกษา และความรับผิดชอบต่อชุมชน มีคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหา จากการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีค่าเท่ากับ 1.00 และความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า Chi-Square=38.727 df = 29 P-Value = 0.1070 RMSEA = 0.035 SRMR = 0.021 CFI = 0.995 TLI = 0.991 ค่าอำนาจจำแนกโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างคะแนนรายข้อและคะแนนรวมมีค่าระหว่าง 0.238 ถึง 0.653 และมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าความเที่ยงโดยวิธีการสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.947 การตรวจสอบคุณภาพตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) มีค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถาม (αi) อยู่ระหว่าง 0.30 -1.96 และค่าพารามิเตอร์เทรสโฮลด์ของแต่ละรายการคำตอบ (βij) มีค่าเรียงลำดับโดยสูงขึ้นตามลำดับ 2) ผลการตอบแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคม ได้จำแนกตามกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมต่างกัน พบว่า กลุ่มผู้สอบที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรับผิดชอบต่อสังคมสูงสุดคือกลุ่ม SDR5 เท่ากับ 82.74 และกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรับผิดชอบต่อสังคมต่ำที่สุดคือ กลุ่มผู้สอบ SDR1 เท่ากับ 71.98 และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างการตอบของกลุ่มผู้สอบทั้ง 5 กลุ่มโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติ One-way ANOVA พบว่าทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นก่อนและหลังการตัดกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม พบว่าคุณภาพตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CCT) ค่าอำนาจจำแนกก่อนตัด SDR มีค่าระหว่าง .227-.584 และหลังตัด SDR มีค่าสูงขึ้นโดยอยู่ระหว่าง .305-.611 ค่าความเที่ยงก่อนตัดและหลังตัด .865 และหลังตัด .861 ตามลำดับ คุณภาพตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) ค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถาม (αi) ที่มีค่าสูงกว่า 0.65 ก่อนตัด มีจำนวน 27 ข้อ และหลังตัดมีจำนวน 28 ข้อ และค่าพารามิเตอร์เทรสโฮลด์ (Threshold) ของแต่ละรายการคำตอบ (βi) พบว่า ก่อนตัดกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม ข้อสอบที่มีค่า β1 และ β2 กระจายทั้งทางบวกและลบ จำนวน 7 ข้อ และหลังตัดมีจำนวน 8 ข้อ ทั้งนี้ข้อสอบทุกข้อ ทั้งก่อนตัดและหลังตัดกลุ่มผู้ที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม มีค่า β1 และ β2 สูงขึ้นตามลำดับ  
     คำสำคัญ ความรับผิดชอบต่อสังคม, การตอบความปรารถนาของสังคม, แบบวัดจิตพิสัย  
ผู้เขียน
625050151-1 น.ส. ณัฏฐ์ บัวผัน [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0