2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ผลของการเรียนแบบผสมผสานบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยใช้โครงงานการสร้างอนิเมชั่นแบบท้าทายเป็นฐานด้วยโปรแกรมสแครชเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 
Date of Distribution 30 June 2021 
Conference
     Title of the Conference การประชุมระดับชาติ"การศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ครั้งที่ 5" ประจำปี 2564 (ผ่านระบบออนไลน์) 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     Conference Place ZOOM (ผ่านระบบออนไลน์) 
     Province/State กรุงเทพมหานคร 
     Conference Date 28 May 2021 
     To 28 May 2021 
Proceeding Paper
     Volume 2564 
     Issue
     Page 15-25 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างการเรียนแบบผสมผสานบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยใช้โครงงานการสร้างอนิเมชั่นแบบท้าทายเป็นฐานด้วยโปรแกรมสแครชเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายให้มีประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ฯ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ฯ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเกษตรศิลปวิทยา จำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) บทเรียนแบบผสมผสาน 2) แบบวัดการคิดเชิงคำนวณ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งการทดลองที่มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแบบผสมผสานบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยใช้โครงงานการสร้างอนิเมชั่นแบบท้าทายเป็นฐานด้วยโปรแกรมสแครชเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 98.24/96.00 2) การคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายต่อการเรียนแบบผสมผสานฯ อยู่ในระดับมากที่สุด 
Author
615050151-0 Miss SUJIRA KUMSEEHA [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0