2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 
Date of Distribution 30 June 2021 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ การศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2564 
     Organiser คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     Conference Place zoom (ผ่านระบบออนไลน์) 
     Province/State กรุงเทพมหานคร 
     Conference Date 28 May 2021 
     To 28 May 2021 
Proceeding Paper
     Volume 2564 
     Issue
     Page 596-608 
     Editors/edition/publisher คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหัวบึง โรงเรียนเพี้ยฟานโนนสวรรค์ และโรงเรียนบ้านกุดพังทุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน ได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) การเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 2) แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งการทดลองที่มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน (One-Group Pre-test-Post-test Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.49/87.71 2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับมากที่ (X ̅= 4.54, S.D. = 0.65)  
Author
615050140-5 Miss JIRUTCHAYA PANNEE [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum