2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความเข้าใจแบบจำลองทางชีววิทยาและการสร้างแบบจำลองทางชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 5 กรกฎาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กองบรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 15 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ความเข้าใจแบบจำลองมีผลต่อสมรรถนะในการสร้างแบบจำลองซึ่งเป็นสมรรถนะหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเรียนชีววิทยา งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ 1) ความเข้าใจแบบจำลองทางชีววิทยา และ 2) การสร้างแบบจำลองทางชีววิทยา ของนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามความเข้าใจแบบจำลองทางชีววิทยา กลุ่มเป้าหมายได้มาจากการเลือกแบบสมัครใจ จำนวน 184 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยทั้งแบบมาตราส่วนประเมินค่า (ข้อมูลเชิงปริมาณ) และแบบปลายเปิด (ข้อมูลเชิงคุณภาพ) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ 2) แบบวัดการสร้างแบบจำลองทางชีววิทยา กลุ่มเป้าหมายได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 28 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความเข้าใจแบบจำลองทางชีววิทยาในระดับที่ไม่แน่ใจ (¯x=3.49, S.D.=0.91) นักเรียนมีความเข้าใจว่าแบบจำลองมีลักษณะรูปทรง 3 มิติ 2) นักเรียนมีการสร้างแบบจำลองทางชีววิทยาในระดับปานกลาง (¯x=5.51, S.D.=3.17) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจต่อบทบาทและกระบวนการสร้างแบบจำลองที่ต้องได้รับการพัฒนา ดังนั้นในกระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาจึงควรมีขั้นตอนที่ชี้ให้เห็นถึงบทบาทและกระบวนการสร้างแบบจำลองทางชีววิทยาที่มีความแตกต่างไปจากการวาดภาพทางชีววิทยา 
     คำสำคัญ ความเข้าใจแบบจำลองทางชีววิทยา การสร้างแบบจำลองทางชีวิทยา แบบจำลองทางชีววิทยา ชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 
ผู้เขียน
625050126-0 น.ส. ศรัญยา มารัตน์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0