2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคระบบหายใจในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 
Date of Acceptance 15 July 2021 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     Volume 14 
     Issue
     Month เดือนตุลาคม - ธันวาคม
     Year of Publication 2021 
     Page  
     Abstract ปัจจุบันมลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นปัญหาและมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นในอนาคตและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน อย่างไรก็ตามข้อมูลทางการศึกษาความสัมพันธ์ต่อสุขภาพยังมีข้อจำกัด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในบรรยากาศ ปัจจัยอุตุนิยมวิทยา และการมารับการรักษาด้วยโรคระบบหายใจ และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคระบบหายใจในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบretrospective cohort study โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลการมารับการรักษาด้วยโรคระบบหายใจระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ทั้งหมด 5 ปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด และใช้สถิติเชิงอนุมาน วิธีการทางสถิติที่ใช้ คือ Poisson regression หาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคระบบหายใจโดยนำเสนอค่า IRR และ 95% CI การศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 56,879 คน (ร้อยละ 55.08) ค่าเฉลี่ยเพศชาย 948 คนต่อเดือน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 193.84) และส่วนใหญ่เป็นผู้มีอายุน้อยกว่า 65 ปี จำนวน 71,815 คน (ร้อยละ 69.54) ค่าเฉลี่ยอายุน้อยกว่า 65 ปี 1,197 คนต่อเดือน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 236.81) ผลการวิเคราะห์ Poisson regression พบว่าปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดโรคระบบหายใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ทำให้อัตราการเกิดโรคระบบหายใจเป็น 1.0025 เท่า (IRR=1.0025; 95% CI=1.0018-1.0032) ความชื้นสัมพัทธ์ทำให้อัตราการเกิดโรคระบบหายใจเป็น 1.0047 เท่า (IRR=1.0047; 95% CI=1.0036-1.0057) ความเร็วลมทำให้อัตราการเกิดโรคระบบหายใจเป็น 0.9967 เท่า (IRR=0.9967; 95% CI=0.9953-0.9981) และความกดอากาศทำให้อัตราการเกิดโรคระบบหายใจเป็น 1.0024 เท่า (IRR=1.0024; 95% CI=1.0020-1.0029) การศึกษาชี้ให้เห็นว่า เมื่อ PM2.5 สูงขึ้น 10 µg/m3 อัตราการเกิดโรคระบบหายใจเพิ่มขึ้น 2.5% นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยอุตุนิยมวิทยาก็มีผลต่อการเกิดโรคระบบหายใจเช่นเดียวกัน ซึ่งสิ่งที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกัน และติดตามเฝ้าระวังปัญหาฝุ่นละอองไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงเตรียมรับมือกับปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นอีกทั้งด้านข้อมูลสิ่งแวดล้อมมีจำนวนสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติที่จำกัดดังนั้นจึงควรมีการเพิ่มจุดในการเฝ้าระวัง PM2.5 ในพื้นที่ต่างๆ ให้ครอบคลุมเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม  
     Keyword โรคระบบหายใจ ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ปัจจัยอุตุนิยมวิทยา 
Author
625110034-2 Miss PORNSUDA MANOCHAI [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0