2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ องค์ประกอบการตลาดของสถานตรวจสภาพรถเอกชน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 พฤษภาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 9 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม E-Conference 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 22 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 979-994 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้เป็นการศึกษาและนำเสนอผลการศึกษาระยะที่ 1 ของ แนวทางการตลาดของสถานตรวจสภาพรถเอกชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บี.พี.ออโต้เซอร์วิส กรุ๊ป อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรที่สังเกตได้ของตัวแปรแฝงการตลาดของสถานตรวจสภาพรถเอกชน ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิธีการอุปนัย โดยการวิจัยเอกสาร จำนวน 34 ฉบับ และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถานตรวจสภาพรถเอกชนจำนวน 19 ท่าน ซึ่งพบตัวแปรที่สังเกตได้ของตัวแปรแฝงจำนวนทั้งหมด 35 ตัวแปร ซึ่งตัวแปรทั้งหมดมีความถี่เกินกึ่งหนึ่งของตัวแปรทั้งหมด ได้แก่ 1) มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพพร้อมใช้งาน ได้มาตรฐาน เที่ยงตรง และทันสมัย 2) พนักงานมีกิริยามารยาท บุคลิกภาพที่ดี และบริการด้วยการเอาใจใส่ 3) ทำเลที่ตั้งสะดวกต่อการเดินทางมาใช้บริการ 4) มีความรวดเร็วในการให้บริการ 5) พนักงานมีทักษะ ความรู้และความชำนาญการให้บริการ 6) ด้านอาคารและสถานที่มองเห็นได้ง่าย และมีความสะอาดพร้อมทั้งมีที่จอดรถเพียงพอ 7) ภายในมีการบริการสิ่งอำนวยความสะดวก 8) การมีโปรโมชั่น ของแถม หรือการติดตามหลังจากการให้บริการที่ดี 9) มีการสื่อสารที่ดี คอยให้คำปรึกษาและแนะนำผู้มาใช้บริการ 10) ด้านการแจ้งค่าบริการตรงตามกฎหมายกำหนดและชัดเจน 11) มีบริการที่หลากหลายและครอบคลุมเรื่องรถแบบครบวงจร 12) การให้บริการโดยปฏิบัติตามขั้นตอนได้มาตรฐานและครบถ้วน 13) ความปลอดภัยในทรัพย์สินของลูกค้าจากการให้บริการ 14) ระบบการให้บริการจัดลำดับก่อนหลัง 15) ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจของสถานที่ที่ไปใช้บริการ 16) มีช่องทางชำระค่าบริการที่หลากหลาย 17) มีการจัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะให้แก่พนักงาน 18) การจัดทำสื่อโฆษณาหรือสื่อประชาสัมพันธ์ 19) จำนวนพนักงานเพียงพอต่อการให้บริการ 20) มีเวลาเปิด-ปิดที่เหมาะสม 21) มีป้ายบอกสถานที่หรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน 22) ไม่เกิดความผิดพลาดในการให้บริการ 23) ให้บริการตรงตามเวลาที่กำหนด 24) พนักงานมีความซื่อสัตย์ น่าเชื่อถือ และไว้ใจได้ 25) มีการแจ้งข่าวสารต่างๆให้กับผู้มาใช้บริการ 26) การตรวจสภาพรถวินิจฉัยผลตามความเป็นจริง 27) การตรวจสอบก่อนส่งมอบ 28) การรับฟังความคิดเห็น ปัญหาและข้อร้องเรียนจากลูกค้า 29) มีการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ 30) หากเกิดเหตุฉุกเฉินพนักงานสามารถแก้ไขปัญหาได้เหมาะสม 31) ความเข้มงวดในการเช็คข้อมูลและการตรวจสภาพรถ 32) เจ้าหน้าที่ต้องมีการพกบัตรประจำตัวทุกครั้ง 33) มีการจัดประชุมทุกเดือน เพื่อให้พนักงานได้เสนอแนะความคิดเห็น 34) มีการประเมินผลงานประจำปี 35) บริการจองคิวผ่านช่องทางที่หลากหลาย 
ผู้เขียน
625740013-0 น.ส. ธนิษฐา ชินชัย [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0