2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การออกแบบและพัฒนาเกมกระดาน JUMP FOR BABY FORG ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 กรกฎาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (EDKKUJ) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 44 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 1-19 
     บทคัดย่อ การออกแบบและพัฒนาเกมกระดาน JUMP FOR BABY FROG ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การแก้ปัญหา อย่างเป็นขั้นตอน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเกมกระดานที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาในรายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบศึกษาโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research) แบบ Type I (Richey and Klein, 2007) ซึ่งมุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่กระบวนการออกแบบ (Design Process) กระบวนการพัฒนา (Development Process) และกระบวนการประเมิน (Evaluation Process) ซึ่งในงานวิจัยนี้อยู่ในระยะที่1 และ 2 เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 2 การวางแผนการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 การดำเนินการตามแผน ขั้นที่ 4 การตรวจคำตอบหรือการมองย้อนกลับ (George Polya, 1957) ออกแบบและพัฒนาโดยใช้ทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์เป็นพื้นฐานในการออกแบบและพัฒนาตามหลักของการออกแบบเกมกระดาน (Tinsman, 2008) ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบเกมกระดานมีองค์ประกอบดังนี้ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แนะนำจำไปใช้ 3) การเล่นเป็นกลุ่ม 4) ศูนย์ความช่วยเหลือ ผลการประเมินคุณภาพของสื่อการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชียวชาญ พบว่า การศึกษาประสิทธิภาพของเกมกระดานในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ((x ) ̅= 4.76, S.D. = 0.38) และผลการทดลองใช้เกมกระดานกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน พบว่า ผู้เล่นมีความพึงพอใจในการเล่นเกมกระดานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ((x ) ̅= 4.56, S.D. = 0.54)  
     คำสำคัญ เกมกระดาน การคิดแก้ปัญหา วิทยาการคำนวณ 
ผู้เขียน
625050014-1 น.ส. ชนิดา นาชัย [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum