2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ โมเดลเชิงสาเหตุของกิจกรรมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ความอยู่ดีกินดีและความสัมพันธ์กับชุมชนในประเทศไทย A Causal Model of the Impact of Corporate Sustainable Activities on Community Satisfaction, Community Well-being, and Community Relationships in Thailand  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 กรกฎาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 
     ISBN/ISSN ISSN 2730-1486 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนผ่านการทำกิจกรรมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ความพึงพอใจ ความอยู่ดีกินดีและความสัมพันธ์กับชุมชน (2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และ (3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนในชุมชนที่อาศัยในพื้นที่โดยรอบขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำนวน 510 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วยอัตราส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างกับจำนวนของพารามิเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 7 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่มีค่าคะแนนน้ำหนักถดถอยมาตรฐานมากที่สุดของด้านกิจกรรมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาสังคม ด้านความอยู่ดีกินดี คือ ความอยู่ดีกินดีทางสังคม และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน คือ การควบคุมซึ่งกันและกัน รวมทั้งโมเดลเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี ซึ่งมีค่า χ2 = 797.494, df = 738, P = 0.063, χ2/df = 1.081, GFI = 0.936, CFI = 0.997, RMR = 0.061 และ RMSEA = 0.013 และกิจกรรมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนขององค์กรส่งผลต่อความสัมพันธ์กับชุมชน โดยมีความพึงพอใจและความอยู่ดีกินดีของคนในชุมชนเป็นตัวแปรคั่นกลาง โดยความสัมพันธ์กับชุมชนได้รับผลเชิงบวกมาจากกิจกรรมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและความอยู่ดีกินดีของคนในชุมชน ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 78.50  
     คำสำคัญ โมเดลเชิงสาเหตุ, การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน, ความสัมพันธ์กับชุมชน, การพัฒนาอย่างยั่งยืน 
ผู้เขียน
597210014-2 น.ส. อลิษา เกษทองมา [ผู้เขียนหลัก]
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 1