2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินด้านข้างของดินลมหอบขอนแก่นในสภาพบดอัด 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 สิงหาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินเชิงรุกของดินลมหอบขอนแก่นในสภาพบดอัด แน่น ในสภาพเปียกและในสภาพแห้ง โดยใช้เครื่อง EPC ในการวัดความดันทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ ตัวอย่างดินลมหอบ ขอนแก่นขนาด 0.5x1.0x0.6 เมตรในกล่องเหล็กขนาด 1.0x1.0x1.0 เมตร โดยทำการบดอัดดินที่ 90 เปอร์เซ็นต์ แบบมาตรฐาน ของความหนาแน่นแห้งสูงสุดทางด้านเปียก หลังจากการติดตั้งเครื่องมือวัดแรงดันในแนวดิ่ง ในแนวราบและวัดการเคลื่อนตัวแล้ว นั้นจะให้น้ำหนักบรรทุกผ่านฐานรากขนาด กว้าง 0.2 เมตร ยาว 0.2 เมตร และหนา0.1 เมตร ที่จุดกลางฐานรากซึ่งอยู่บนผิวดิน โดยฐานรากวางที่จุดกึ่งกลางของตัวอย่าง และจากผลการทดสอบนั้นแสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างความเค้นใน แนวดิ่งและความเค้นในแนวราบที่ระดับความลึกน้อยกว่า 1.5เท่าของขนาดความกว้างของแบบจำลองฐานรากนั้น จะมีอัตราการ เพิ่มขึ้นค่อนข้างคงที่กระทั่งดินตัวอย่างนั้นถึงจุดวิบัติ จะทำให้ค่าความเค้นในแนวราบนั้นค่อยๆลดลง ส่วนความสัมพันธ์ของค่า ความเค้นแนวดิ่งและค่าความเค้นในแนวราบที่ระดับความลึกมากกว่า 1.5เท่าของขนาดความกว้างของแบบจำลองฐานรากนั้น ก่อนที่ตัวอย่างดินนั้นจะเกิดการวิบัติจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นที่ค่าความชันหนึ่ง แต่เมื่อตัวอย่างดินเกิดการวิบัตินั้นจะทำให้ค่าความชัน ที่เปลี่ยนไป ดังนั้นทำให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินเชิงรุก จึงเพิ่มขึ้นตามความเค้นที่ใช้จนกว่าจะถึงจุดที่ตัวอย่างดินนั้นเกิดการวิบัติ หลังจากนั้นค่าสัมประสิทธิ์ความดันดินเชิงรุก ก็จะลดลง ระนาบที่ตัวอย่างดินเกิดการวิบัตินั้น เกิดขึ้นที่ตำแหน่งจากขอบของฐาน รากถึงความลึก 1.5เท่าของขนาดความกว้างของแบบจำลองฐานราก ส่วนความเค้นแนวดิ่งที่ตำแหน่งผิวที่ทำให้ตัวอย่างเกิดการการ วิบัติในการทดสอบแบบแห้งและแบบเปียกนั้น มีค่าเท่ากับ 55.37 และ 40.57 กิโลปาสคาล ตามลำดับ 
     คำสำคัญ แรงดันดินด้านข้าง,ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินเชิงรุก,การเคลื่อนตัวด้านข้างของดิน  
ผู้เขียน
625040024-4 นาย ณัชพล สุทธิเจริญพานิชย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0