2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ประสิทธิผลของการวัดค่าความเป็นกรด-ด่างด้วยวิธีที่แตกต่างกันโดยใช้เครื่องวัดแบบพกพา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 16 มีนาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ “การพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมสร้างสุขภาวะ” คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ครั้งที่ ๑ The 1st National Conference on Health Research and Innovation 2021 (NCHRI2021) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 
     สถานที่จัดประชุม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 16 มีนาคม 2564 
     ถึง 16 มีนาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 250-258 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลายจากการวัดค่าความเป็นกรด- ด่างด้วยวิธีที่แตกต่างกันโดยใช้เครื่องวัดแบบพกพา เพื่อน าไปประยุกต์ใช้ในงานทันตกรรมส าหรับการวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง ของน ้าลายในผู้ป่วยที่มีภาวะน ้าลายน้อยหรือภาวะปากแห้ง วัสดุและวิธีการศึกษา ทดสอบค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลายบัฟเฟอร์ที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 7 ด้วย เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่างแบบพกพา (Horiba®) ด้วย 3 วิธีการ ดังนี้ คือ 1) ใช้ร่วมกับการใช้สารละลายที่ปริมาณ 50 100 250 และ 500 ไมโครลิตร 2) ใช้ร่วมกับการใช้กระดาษเมมเบรนชนิดเซลลูโลสอะซิเตท (Advantec®) ที่ถูกท าให้เปียก ชุ่มจากสารละลาย และ 3) ใช้ร่วมกับการใช้กระดาษกรองวอทแมน (Whatman®) เบอร์ 1 3 และ 5 ที่ถูกท าให้เปียกชุ่มจาก สารละลาย โดยมีการใช้เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่างแบบพกพาร่วมกับการใช้สารละลาย 500 ไมโครลิตรเป็นวิธีมาตรฐานใน การวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง จากนั้นวิเคราะห์ความแตกต่างของค่ามัธยฐานของค่าความเป็นกรด-ด่างระหว่างกลุ่มมาตรฐาน และกลุ่มทดลองอื่น ๆ โดยใช้สถิติ Kolmogorov-Smirnov Test และวิเคราะห์ความไว (Sensitivity analysis) ของแต่ละ กลุ่มทดลองเปรียบเทียบกับกลุ่มมาตรฐาน ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่ามัธยฐานของค่าความเป็นกรด-ด่างของแต่ละวิธีการทดสอบ เปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน พบว่าการใช้เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่างแบบพกพาร่วมกับการใช้กระดาษกรองวอทแมนเบอร์ 1 มีความแตกต่างจากกลุ่มมาตรฐานอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p-value = 0.013) ส าหรับการวิเคราะห์ความไว (Sensitivity) พบว่าการใช้สารละลายหยดในปริมาณที่ 250 ไมโครลิตร และ 100 ไมโครลิตรมีความไวในการทดสอบมากที่สุด เท่ากับ 80% และการใช้สารละลายหยดในปริมาณที่ 50 ไมโครลิตร มีความไวในการทดสอบน้อยที่สุด เท่ากับ 20% ในขณะที่การทดสอบ ด้วยกระดาษกรองวอทแมน (Whatman®) เบอร์ 1 3 และ 5 มีความไวที่ 40% 60% และ 40% ตามล าดับ สรุปผลการใช้เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่างแบบพกพาวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลายให้ได้ค่าที่แม่นย าควร ใช้ร่วมกับการใช้สารละลายที่ปริมาณ 100 250 และ 500 ไมโครลิตร ส าหรับการใช้ร่วมกับสารละลายปริมาณน้อย และการ ใช้ร่วมกับกระดาษมีประโยชน์ในการหาค่าความเป็นกรด-ด่างโดยประมาณเท่านั้น 
ผู้เขียน
615130011-1 น.ส. กิตติยา ยืนยิ่ง [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 6