2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ จากเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการ: ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเครือข่ายทางสังคม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 พฤศจิกายน 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ครั้งที่ 2 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 พฤศจิกายน 2563 
     ถึง 21 พฤศจิกายน 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 72 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งศึกษาการกลายเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการ ภายใต้การวิเคราะห์บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเครือข่ายทางสังคม ของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น ตามแนวคิดเครือข่ายทางสังคม ที่จะสะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์การก่อตัวของเกษตรกรผู้ประกอบการ ที่เกิดขึ้นจากการมีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มต่างๆ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการผลิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของครัวเรือน โดยการศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการสังเกต เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุมรอบด้าน มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้รู้ในชุมชน 3 คน เจ้าหน้าที่รัฐ 3 คน เกษตรกรผู้ประกอบการ 7 คน และสมาชิกในครัวเรือนของเกษตรกรผู้ประกอบการ 4 คน ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงและการบอกต่อ ทำการจัดระเบียบข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปและนำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การก่อตัวของเกษตรกรผู้ประกอบการในจังหวัดขอนแก่น ล้วนแต่เกิดขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับการพึ่งพาหรือได้รับการสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม ประกอบด้วย (1) สมาชิกในครัวเรือน ในฐานะของแรงงาน ผู้สนับสนุนด้านการเงิน รวมถึงการส่งเสริมด้านการตลาด (2) ชุมชนหรือกลุ่ม ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ข่าวสารต่างๆ ทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป และการขายผลผลิต และ (3) เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดนโยบายหรือกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมภาคการเกษตร ซึ่งช่วยให้เกษตรกรผู้ประกอบการสามารถฉวยใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการผลิตของตนได้อย่างหลากหลาย ในส่วนของการสร้างเครือข่าย พบว่า เกษตรกรผู้ประกอบการมีการใช้เครือข่ายทางสังคมในฐานะทรัพยากรหนึ่งเพื่อส่งเสริมการประกอบการของตน จำแนกได้ 2 รูปแบบที่สำคัญ คือ (1) เครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมบนพื้นที่เชิงกายภาพ และ (2) เครือข่ายที่เกิดขึ้นบนฐานของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นลักษณะของการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับทั้งหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าในฐานะของตลาด การมีเครือข่ายกับเกษตรกรผู้ประกอบการรายอื่นๆ รวมถึงการมีเครือข่ายเชิงเครือญาติสนับสนุน ซึ่งแต่ละรูปแบบมีลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคม 2 ลักษณะ ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่เป็นแนวราบในลักษณะของการพึ่งพาระหว่างกัน และความสัมพันธ์แนวดิ่งโดยการต่อรองผลประโยชน์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการผลิตของตนเอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นคุณลักษณะของการเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการที่รู้จักใช้ประโยชน์จากการพัฒนาของสังคมเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดี และมีกลยุทธ์ในการดำรงชีพที่แตกต่างไปจากเกษตรกรแบบเดิม ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการสนับสนุนด้านนโยบายจากรัฐได้อย่างชัดเจน  
ผู้เขียน
605080001-0 น.ส. นุชนารถ สมควร [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum