2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ จากการทำงานของทันตบุคลากร 
Date of Distribution 28 May 2021 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการทางการยศาสตร์ Virtual ErgoCon2021 
     Organiser สมาคมการยศาสตร์ไทย 
     Conference Place ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) 
     Province/State  
     Conference Date 28 May 2021 
     To 28 May 2021 
Proceeding Paper
     Volume การประชุมวิชาการทางการยศาสตร์ Virtual ErgoCon2021 
     Issue 28 พฤษภาคม 2564 
     Page D1-D8 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทํางานของทันตบุคลากรและความผิ ดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในทันตบุคลากร กลุ่มตัวอย่างคือ ทันตบุคลากรที่ประจําอยู่สถานพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดเพชรบุรี มีทั้งสิ้นจํานวน 118 คน โดยใช้แบบสอบถามประเมินความรู้สึกไม่สบายบริเวณของร่างกายจากการทํางานบอกความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ มีการสังเกตท่าทางการทํางานด้วยการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ โดยใช้วิธี RULA (Rapid Upper Limb Assessment) ผลการศึกษาพบว่า ทันตบุคลากรมีความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาในทุกคนเมื่อพิจารณาความถี่ของการเกิดอาการผิดปกติหลายๆครั้งในทุกๆวัน พบตําแหน่งที่มีอาการสูงสุด 3 อันดับแรกคือ คอ ร้อยละ 15.25 รองลงมาคือ ไหล่ ร้อยละ 13.56 และหลัง ร้อยละ 10.17 ตามลําดับ เมื่อจำแนกตามความรุนแรงของอาการปวดพบว่า มีอาการปวดระดับปานกลางขึ้นไปตําแหน่งที่พบสูงสุด 3 ลําดับแรก คือ คอ ร้อยละ 71.19 รองลงมาคือ ไหล่ ร้อยละ 69.49 และหลัง ร้อยละ 66.95 ตามลําดับ และเมื่อพิจารณาร่วมเป็นระดับความความรู้สึกไม่สบายทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย พบ ระดับความรู้สึกไม่สบายตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป 3 ลําดับแรก คือ คอ ร้อยละ 55.08 รองลงมา คือ ไหล่ ร้อยละ 46.61 และหลัง 41.53 ตามลําดับ ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ด้วยวิธี RULA ตามลักษณะงานพบว่า งานถอนฟันทันตบุคลากรส่วนใหญ่มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ คือ ระดับ 3 (ท่าทางที่ควรตรวจสอบและต้องแก้ไขโดยเร็ว) ร้อยละ 58.47 รองลงมาคือ ระดับ 4 (ท่าทางที่ควรได้รับการแก้ไขโดยทันที) ร้อยละ 29.66 ส่วนงานอุดฟันทันตบุคลากรมีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ตั้งแต่ระดับ 2 ร้อยละ 65.25 รองลงมาคือ ระดับ 3 ร้อยละ 30.51 โดยมีความเสี่ยงสูงบริเวณคอและหลัง การศึกษาครั้งนี้แสดงถึงผลระดับความเสี่ยงสูงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทํางานไม่เหมาะสมของทันตบุคลากรทั้งในงานถอนฟันและอุดฟันที่อาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติบริเวณคอ ไหล่ หลังที่พบว่า มีความชุกสูง ดังนั้นทันตบุคลากรควรได้รับคําแนะนําในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านท่าทางในการทํางานที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อป้องกันการปวดคอ ไหล่ หลังเรื้อรังได้ต่อไป 
Author
625110009-1 Miss CHALITA CHOROBCHOEI [Main Author]
Public Health Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0