2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลผาขาว อำเภอผาขาว จังหวัดเลย  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 สิงหาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพรรณนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความเสี่ยงกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จากกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลผาขาว อำเภอผาขาว จังหวัดเลย จำนวน 240 คน วิเคราะห์หาข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติอนุมานใช้ Chi-square, Crude OR, 95% CI of OR กับ Multiple Logistic Regression หาค่า Adjusted OR, 95% CI of OR ผลการวิเคราะห์พบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานในภาพรวม ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี (2.34 - 3.00) ร้อยละ 45.83 รองลงมา คือ ระดับปานกลาง (1.67 - 2.33) ร้อยละ 35.83 และระดับควรปรับปรุง (1.00 - 1.66) ร้อยละ 18.33 ตามลำดับ เมื่อประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง (รสหวาน มัน เค็ม) แยกเป็นรายด้าน พบว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มี พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม อยู่ในระดับปรับปรุง ร้อยละ 82.08 ร้อยละ 93.75 และร้อยละ 93.33 ตามลำดับ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า ด้านปัจจัยนำ ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง เป็น 1.27 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองระดับสูง (ORadj.= 1.58; 95%CI=1.48-2.85, p-value=0.025) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) และผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การมีอาหารเพียงพอ, การเข้าถึงอาหาร และการใช้ประโยชน์จากอาหารในระดับต่ำ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง เป็น 2.24 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในระดับสูงระดับปานกลาง (ORadj.= 2.24; 95%CI=1.29-3.88, p-value=0.004) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)  
     คำสำคัญ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือด 
ผู้เขียน
615110062-6 น.ส. อรรจมาภรณ์ สมบัติโชติสิน [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0