ชื่อบทความ |
ความคิดเห็นของเภสัชกรเกี่ยวกับประโยชน์ของหุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติ Opinions of Pharmacists on Benefits of the Automated Medication Pre-dispensing Machine |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
17 กันยายน 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
Thai Pharmaceutical and Health Science Journal (วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ |
ISBN/ISSN |
ISSN: 2672-9687 |
ปีที่ |
17 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กรกฎาคม - กันยายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเภสัชกรเกี่ยวกับประโยชน์ของหุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติในด้านการให้บริการ การจัดการอัตรากำลัง และภาระงาน และการบริหารเวชภัณฑ์ วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงผสมผสานนี้ (Mixed Method Research) สัมภาษณ์แบบเจาะลึกเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 6 คน ที่มีประสบการณ์การใช้หุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive) และใช้เทคนิคการบอกต่อ (snowball) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบสอบถามที่มีตัวเลือกแบบลิเกิร์ตจาก 1-ไม่เห็นด้วยอย่างมาก ถึง 5-เห็นด้วยอย่างมาก เพื่อศึกษาเชิงปริมาณซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ รายงานวิจัยนี้นำข้อมูลของแบบสอบถามจากโรงพยาบาลที่มีการใช้หุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติเท่านั้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: ในโรงพยาบาล 23 แห่งที่มีหุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติ ความคิดเห็นต่อการใช้หุ่นยนต์สูงสุด 3 อันดับแรก คือ การใช้หุ่นยนต์ทำให้ความคลาดเคลื่อนในการจัดยาลดลง ตอบสนองต่อการพัฒนาคุณภาพระบบยา และทำให้พยาบาลในหอผู้ป่วยพึงพอใจมากขึ้น (4.48 0.59, 4.43 0.79, และ 4.30 0.70 คะแนน ตามลำดับ) หุ่นยนต์จัดยาทำให้จ่ายยาแบบ unit dose ได้ ยกระดับการให้บริการ ลดความคลาดเคลื่อนทางยา เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานในฝ่ายเภสัชกรรม สำหรับการจัดการอัตรากำลังและภาระงาน กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการใช้หุ่นยนต์จัดยาใช้อัตรากำลังเท่าเดิมในการจัดยาผู้ป่วยใน แต่ได้คุณภาพงานมากขึ้น (3.96 คะแนน) สำหรับระบบบริการผู้ป่วยใน ทำให้ภาระงานของวิชาชีพพยาบาลลดลง พยาบาลบริหารยาแก่ผู้ป่วยถูกต้องมากขึ้น ขณะที่ภาระงานของเภสัชกรขึ้นอยู่กับบริบทของโรงพยาบาล โรงพยาบาลบางแห่งเภสัชกรมีภาระงานลดลง และสามารถเปิดงานเภสัชกรรมด้านอื่นเพิ่ม ขณะที่บางโรงพยาบาลเภสัชกรยังต้องตรวจสอบยาก่อนจ่ายให้แก่หอผู้ป่วยเช่นเดิม สรุป: หุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติเพิ่มคุณภาพการให้บริการโดยลดความคลาดเคลื่อนทางยา เพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย แต่อาจไม่ช่วยให้เภสัชกรมีภาระงานลดลง แม้สามารถเปิดงานบริการเภสัชกรรมด้านอื่นได้อย่างชัดเจน |
คำสำคัญ |
automated medication pre-dispensing machine, pharmacist, opinions, workforce allocation, workload, medication errors |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|