2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แนวทางการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานปัญญาภัณฑ์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 กันยายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานปัญญาภัณฑ์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม นิยามและให้ความหมายองค์ประกอบการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานปัญญาภัณฑ์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และกำหนดแนวทางการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานปัญญาภัณฑ์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีวิธีการวิจัยโดยใช้การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบกึ่งโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเพื่อจำแนกองค์ประกอบ ด้วยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 คน จากผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 20 ปี การศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และรายได้ส่วนบุคคลเฉลี่ยต่ำกว่า 9,000 บาท ซึ่งสามารถจำแนกองค์ประกอบของแนวทางการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน ได้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สินค้าและบริการที่มีความคุ้มค่า (Worthy) ใช้ตัวย่อว่า “W” (2) การสร้างช่องทางในการสั่งซื้อและเที่ยวซื้อ (Online and On-site) ใช้ตัวย่อว่า “O” (3) การเข้าถึงสินค้าและบริการ (Reachable Access) ใช้ตัวย่อว่า “R” (4) การใส่ใจทุกความผูกพันและความต้องการ (Kindness Care Approach) ใช้ตัวย่อว่า “K” โดยองค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายแนวทางการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน ได้ร้อยละ 58.177 และนำองค์ประกอบที่ได้มากำหนดเป็นแนวทาง “WORK” โดยให้นิยามว่า ส่งมอบความคุ้มค่าผ่านช่องทางที่เข้าถึงง่ายด้วยความใส่ใจทุกระดับการทำงาน สำหรับเป็นแนวทางตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานปัญญาภัณฑ์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 4 แนวทาง ได้แก่ (1) ซื้อครบจบคุ้ม (2) เพิ่มออนไลน์พัฒนาออนไซต์ (3) รับรู้เพื่อเข้าถึง (4) แบ่งปันความใส่ใจคืนกำไรให้สังคม 
     คำสำคัญ แนวทางการตลาด, ร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน, มหาสารคาม 
ผู้เขียน
625740020-3 น.ส. สโรชินี โสภณพัฒนบัณฑิต [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0