2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การปรับปรุงสมบัติการรับแรงอัดและความคงทนของชั้นพื้นทาง ด้วยจีโอโพลีเมอร์ที่ใช้เถ้าชานอ้อยและเถ้าแกลบ IMPROVEMENT OF COMPRESSIVE STRENGTH AND DURABILITY FOR BASE COURSE WITH GEOPOLYMER MATERIALS BY USING BAGASSE ASH AND RICE HUSK ASH  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 กันยายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ดินลมหอบในสภาพแห้งจะมีการสูญเสียค่ากำลังรับน้ำหนักมากและมีลักษณะการทรุดตัวจากการยุบตัวเมื่อมีปริมาณความชื้นในดินเพิ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาการปรับปรุงดินลมหอบด้วยวัสดุจีโอโพลีเมอร์ที่นำเถ้าชานอ้อยและเถ้าแกลบเป็นส่วนผสมในดิน โดยเทียบกับมาตรฐานดินซีเมนต์ชั้นพื้นทางของกรมทางหลวง ทล.-ม.204/2556 โดยการทดสอบหาค่ากำลังรับแรงอัดไร้ขอบเขต และการทดสอบความคงทนเปียกสลับแห้ง ในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างถูกควบคุมบดอัดดินที่ 95 เปอร์เซนต์การบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน ด้วยปริมาณของเหลวที่เหมาะสม สำหรับวัสดุจีโอโพลีเมอร์ใช้อุณหภูมิในการบ่มร้อนที่ 70, 90 และ 110 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็นการบ่มอุณหภูมิห้องปกติจนมีระยะบ่มรวม 2, 7 และ 28 วันตามลำดับ ใช้อัตราส่วนโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เท่ากับ 1:3 ซึ่งการทดสอบได้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกำลังแรงอัดและอายุบ่มของดินจีโอโพลีเมอร์ในแต่ละอุณหภูมิพบว่า ที่ระยะบ่ม 7 วัน ให้ค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด ในสัดส่วนผสม BA10RH5 ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส และที่อุณหภูมิสูงขึ้น ให้ค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุดในสัดส่วนผสม BA10 และมีค่ามากกว่าค่ากำลังรับแรงอัดของ SC5 ส่วนการทดสอบความคงทนวิธีเปียกสลับแห้งโดยเลือกดินจีโอโพลีเมอร์ BA10 ที่อุณหภูมิบ่ม 90 องศาเซลเซียส และ BA10RH5 ที่อุณหภูมิบ่ม 70 องศาเซลเซียส และดินซีเมนต์ SC5 มาเปรียบเทียบกัน ซึ่ง พบว่าร้อยละการสูญเสียน้ำหนักที่ของดินซีเมนต์ มีค่าเท่ากับ 11.06 ซึ่งมากกว่า ดินจีโอโพลีเมอร์ BA10 ที่อุณหภูมิบ่ม 90 องศาเซลเซียส และ BA10RH5 ที่อุณหภูมิบ่ม 70 องศาเซลเซียส ที่มีค่าร้อยละการสูญเสียน้ำหนักเท่ากับ 4.57 และ 9.05 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสอดคล้องกับค่ากำลังรับแรงอัด 
     คำสำคัญ กำลังรับแรงอัด; เถ้าชานอ้อย; เถ้าแกลบ; ความคงทน 
ผู้เขียน
625040095-1 นาย อรรถพล พระโคตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0