ชื่อบทความ |
การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในลุ่มน้ำโขงตอนบน |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
13 กันยายน 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
ISBN/ISSN |
Print-ISSN 2286-9581 Online-ISSN 2697-4703 |
ปีที่ |
15 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยเรื่องนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในลุ่มน้ำโขงตอนบน 2) เพื่อศึกษาสังคีตลักษณ์และบทบาทหน้าที่ของดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในลุ่มน้ำโขงตอนบน 3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในลุ่มน้ำโขงตอนบน โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสารและภาคสนาม ใช้การสังเกตและสัมภาษณ์จากบุคคลผู้ให้ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย ผู้รู้ จำนวน 10 คน ผู้ปฏิบัติ จำนวน 10 คน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล ผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้วและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของดนตรีปรากฏอยู่ใน 2 ลักษณะ คือ รูปแบบของตำนาน นิทาน หรือเรื่องเล่า และที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ การอพยพ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 2) ด้านสังคีตลักษณ์เป็นการสืบทอดแบบมุขปาฐะซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับขนบจารีต ธรรมเนียมปฏิบัติ และประเพณี รวมถึงมีการสอดแทรกข้อห้าม ข้อนิยม และข้อปฏิบัติ 3) การนำบันไดเสียงแบบเมเจอร์มาใช้เพิ่มเติมจากบันไดเสียงไมเนอร์ ซึ่งการใช้ระบบเสียงที่มีการสืบทอดกันมาแบบดั้งเดิมก็ยังคงปรากฏ เพียงแต่ได้รับความนิยมลดน้อยลงไป โดยใช้ในเทศกาล โอกาสพิเศษ และพิธีกรรมสำคัญเท่านั้น |
คำสำคัญ |
ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง, สังคีตลักษณ์, การเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมดนตรี, ลุ่มน้ำโขงตอนบน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|