ชื่อบทความ |
ความเครียดในบิดามารดาของทารกที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
13 กันยายน 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ (Journal of Nursing and Health Care) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สำนักงานสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
2351-0358 |
ปีที่ |
39 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กรกฎาคม-กันยายน 2564 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
10 |
บทคัดย่อ |
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดในบิดามารดาของทารกที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง และแบบสัมภาษณ์ประเมินความเครียดในบิดามารดาทารกที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต โดยแบ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด 4 ด้าน คือ (1) สภาพแวดล้อมในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต (2) ลักษณะและพฤติกรรมของทารกที่ปรากฏ (3) การเปลี่ยนแปลงบทบาทของบิดามารดา และ (4) ลักษณะและพฤติกรรมการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ โดยผ่านการตรวจสอบเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา 0.89 มีการทดลองใช้กับบิดามารดาทารกแรกเกิดจำนวน 30 ราย ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาร์คเท่ากับ 0.78 ซึ่งเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์บิดามารดาทารกแรกเกิดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ จำนวนทั้งหมด 90 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบิดามารดากับความเครียดในบิดามารดา และเปรียบเทียบข้อมูลส่วนทารกแรกเกิดกับความเครียดในบิดามารดา โดยใช้สถิติ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า บิดามารดาทารกแรกเกิดระยะวิกฤตมีความเครียดด้านการเปลี่ยนแปลงบทบาทของบิดามารดา (x̄ =3.55, SD=0.61) อยู่ในระดับมาก บิดามารดามีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลของการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่ามารดากับบิดามีคะแนนความเครียดเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลของการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเครียดของบิดามารดากับข้อมูลด้านทารกแรกเกิดวิกฤตของบิดามารดา พบว่าบิดามารดาที่มีบุตรเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดมีคะแนนความเครียดเฉลี่ย (x̄ =74.78, SD=13.94) มากกว่าบิดามารดาที่มีบุตรเป็นทารกเกิดครบกำหนด /เกินกำหนด (x̄ =68.36, SD=13.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการศึกษาพยาบาลในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤตควรให้การดูแลบิดามารดาเพื่อป้องกันภาวะเครียดที่รุนแรงในบิดามารดาให้ลดลงได้
|
คำสำคัญ |
ความเครียด บิดามารดาของทารกแรกเกิดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|