2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ กลวิธีการเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ สำหรับกีตาร์คลาสสิก ชุด แสงเทียนบลูส์ บรรเลงโดย ฮักกี้ ไอเคิลมานน์  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 กันยายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 
     ISBN/ISSN วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 
     ปีที่ 16 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า
     บทคัดย่อ การศึกษากลวิธีการเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ สำหรับกีตาร์คลาสสิก ชุด แสงเทียนบลูส์ บรรเลงโดย ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) วิเคราะห์กลวิธีการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก บทเพลงพระราชนิพนธ์ ชุด แสงเทียนบลูส์ บรรเลงโดย ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ และ 2) วิเคราะห์กลวิธีการเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ สำหรับกีตาร์คลาสสิก ชุด แสงเทียนบลูส์ บรรเลงโดย ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ ซึ่งผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ นักเรียน นักศึกษา นักดนตรี และบุคคลทั่วไป สามารถเสริมสร้างความรู้ในด้านการบรรเลง ความรู้ในด้านทฤษฎี และความรู้ในด้านกลวิธีการเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ สำหรับกีตาร์คลาสสิกมากยิ่งขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1) กลวิธีการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก ของ ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ มีการใช้กลวิธีการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก ทั้งหมด 17 ชนิด ซึ่งกลวิธีการบรรเลงที่พบมากที่สุด ในบทเพลง แสงเทียน, ชะตาชีวิต, ศุกร์สัญลักษณ์, คือ กลวิธีการบรรเลงแบบ การกวาดสาย/การเกี่ยวสาย (Rasgueado) ปรากฎทุกท่อนของบทเพลง ยกเว้น บทเพลง สายฝน ที่ใช้กลวิธีการบรรเลงแบบ เทรโมโล่ (Tremolo) เป็นหลัก และยังมีการใช้กลวิธีการบรรเลงแบบพิเศษ อยู่ 2 กลวิธี ถูกใช้ในบทเพลง ศุกร์สัญลักษณ์ คือ 1.การกวาดสาย/การเกี่ยวสาย (Rasgueado) + การดีดแบบพิซคาโต (Pizzicato) เป็นกลวิธีการบรรเลงแบบเน้นจังหวะของตัวโน้ตและหยุดอย่างรวดเร็ว 2.เกรซ โน้ต (Grace note) เป็นกลวิธีการบรรเลงแบบสะบัดโน้ต รวมถึงการบรรเลงเพื่อเพิ่มอารมณ์ให้กับบทเพลงโดยใช้ โหมด มิกโซลิเดียน (Mixolydian Mode) และสเกล โครมาติก (Chromatic scale) ในบทเพลง สายฝน 2) กลวิธีการเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ สำหรับกีตาร์คลาสสิก ของ ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ โดยการเรียบเรียงทำนองของบทเพลง มีการใช้ทำนองหลักแบบต่อเนื่องในแนวบน และใช้กลวิธีการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก เพื่อกระจายโน้ตของทำนองในแต่ละท่อน จนถึงท่อนจบ ทั้ง 4 บทเพลง โดยใช้การเดินเสียงเบสและการเดินทำนองหลัก ตามกลุ่มคอร์ด ซึ่งคอร์ดที่ใช้จะเป็นคอร์ดทาง Major เป็นหลัก และจะมีคอร์ดที่เป็น Chord Diminished – Chord 6 – Chord 7 - Chord b5 ที่พบในบางช่วงของท่อนเพลง การเรียบเรียงบทเพลง มีการใช้พื้นผิวแบบการกระจายคอร์ด (Arpeggio Texture) เพื่อกระจายทำนองหลักของบทเพลง การประสานทำนองกับขั้นคู่เสียง (Intervals) เพื่อบ่งบอกถึงลักษณะของเสียง และการใช้รูปแบบของจังหวะ (Rhythm pattern) ให้เหมาะสมกับลักษณะของบทเพลง เพื่อใช้ในการเรียบเรียงแนวเบส  
     คำสำคัญ กลวิธีการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก, การเรียบเรียงบทเพลงพระราชนิพนธ์, แสงเทียนบลูส์ 
ผู้เขียน
625220006-4 นาย อัษฎาวุธ จันบัวลา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0