2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติตัวและระดับฮีมาโตคริตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 กันยายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 44 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติตัวและระดับฮีมาโตคริตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กกลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางระดับฮีมาโตคริต<33 เปอร์เซนต์อายุครรภ์ระหว่าง 20 ถึง 26สัปดาห์กลุ่มตัวอย่าง 60 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย7 กิจกรรมได้แก่ 1) มือใหม่มือเก่าเข้าถึงได้ 2) รู้ทันโลหิตจาง 3) การติดตามเยี่ยมทางไลน์ 4) คำถามนั้นสำคัญไฉน 5) บันทึกข้อตกลง6) การติดตามเยี่ยมบ้าน และ 7) ความสำเร็จ โดยการให้ความรู้ผ่านสื่อวีดีทัศน์ ฝึกทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเข้าถึงเว็บไซต์ออนไลน์ การลงแอปพลิเคชันด้วยตนเอง การอภิปรายกลุ่ม การประเมินความรู้ การบันทึกลงนามไม่ลืมกินยาปฏิทินเตือนความจำและคู่มือในการปฏิบัติตัวโดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลทุกกิจกรรม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการฝากครรภ์ตามมาตรฐานการดำเนินงานตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเองสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐานและพิสัยควอร์ไทล์เปรียบเทียบความแตกต่างค่าคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มด้วยสถิติ Paired t-test และสถิติ Wilcoxon match paired Signed ranks testวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทั้งก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ Independent t-test และสถิติ Mann-whitneyu test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่0.05 และค่าความเชื่อมั่นที่ 95%ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้ง 6 ด้านสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value<0.001) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฎิบัติตัวเพื่อแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(t=9.37;p-value<0.001; 95%CI: 5.34-8.32)และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t=7.29; p-value<0.001; 95%CI: 5.32-9.34) และกลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานระดับฮีมาโตคริตสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมโดยมีค่ามัธยฐานระดับฮีมาโตคริตสูงขึ้นเท่ากับ 34.00(พิสัยควอร์ไทล์ 2.0) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) 
     คำสำคัญ หญิงตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ความรอบรู้ด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม 
ผู้เขียน
625110007-5 นาง สมาพร สุรเตมีย์กุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0