2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ พัฒนาการของคณะโหวดเสียงทอง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 กันยายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 16 
     ฉบับที่
     เดือน มกรคม - เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของคณะ โหวดเสียงทอง การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของคณะโหวดเสียงทอง ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร และการรวบรวมข้อมูล ภาคสนามด้วยการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ผู้รู้ นักวิชาการ จำนวน 2 คน สมาชิกคณะโหวดเสียงทอง จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และนำเสนอ ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของคณะโหวดเสียงทอง มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ยุคแรก พ.ศ. 2511 - 2515 เครื่องดนตรี 4 ชิ้น คือ แคน ซุง กลองตุ้ม และฉิ่ง ผู้บรรเลงนั่งกับพื้นลักษณะครึ่งวงกลม ยุคที่ 2 พ.ศ. 2516 - 2520 เพิ่มเครื่องดนตรี พิณโปร่ง กลองหาง 2 ใบ ไหซอง 2 ใบและโหวด เพิ่มลายบรรเลง ได้แก่ เปิดวง ลายตังหวาย ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงตับเต่า ลายเซิ้งบั้งไฟ ลายน้ำโตนตาด ลายเต้ย ยุคที่ 3 พ.ศ. 2521 - 2525 ยุครุ่งเรือง เพิ่ม กลองชุด พิณไฟฟ้า พิณเบส ซออีสาน ปี่ภูไท มีพิธีกร นักร้องหญิงชาย เพิ่มลายภูไทกาฬสินธุ์ ภูไทสกลนคร ภูไทเรณูนคร มีท่าฟ้อนภูไท ปี พ.ศ. 2528 – ปัจจุบัน หัวหน้าคณะโหวดเสียงทองได้เข้ามาทำหน้าที่เป็นครูผู้สอนในวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด มีการพัฒนาเครื่องดนตรี พิณ 2 หัว พิณ 3 หัว ในระยะหลังทำให้เกิดปัญหา มีการพักการแสดง และการรวมตัวกันอีกในเวลาต่อมา แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเหมือนเมื่อก่อน การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของคณะโหวดเสียงทอง มีการผสมผสานเครื่องดนตรีพื้นบ้านกับเครื่องดนตรีสากล เผยแพร่ผลงานไปยังต่างประเทศ มีการบันทึกเทปคาสเซ็ท กลวิธีการบรรเลงยุคแรก ยึดเสียงแคนเป็นหลัก ยุคที่ 2 มีการบรรเลงเพลงเปิดวงประยุกต์จากเพลงลูกทุ่งมีการขับร้องเพลงลูกทุ่งและหมอลำ ยุคที่ 3 มีจำนวนผู้แสดงเพิ่มมากขึ้นการบรรเลงดนตรีมีแบบแผน ยุคที่ 4 การบรรเลงการแสดงหลากหลายมีความเป็นสากลและเป็นวิชาการ ลักษณะของการแสดงในปัจจุบันเป็นการอนุรักษ์ สืบทอด วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านอีสาน  
     คำสำคัญ พัฒนาการของคณะโหวดเสียงทอง,การดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลง 
ผู้เขียน
625220019-5 นาย วัทธิกร แสวงผล [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0