2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ สถาปัตยกรรมโคโลเนียลสไตล์ย่านการค้าเก่าถนนมีชัย สู่การสร้างสรรค์หนังสือภาพประกอบ Colonial-Style Architecture in Old town of Meechai Road Into creating the Illustrated Books  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 12 กรกฎาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ "ศิลปกรรมวิจัย" ครั้งที่ 5 "ศิลปะสร้างโลก" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กรกฎาคม 2562 
     ถึง 13 กรกฎาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 721 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมา และอิทธิพลเชิงช่างที่ส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมโคโลเนียลสไตล์ในย่านการค้าเก่า จังหวัดหนองคาย เพื่อนำไปสู่การออกแบบหนังสือภาพประกอบ โดยอาศัยการศึกษาข้อมูลความเป็นมาในอดีตที่มีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมจนส่งผลต่ออิทธิพลเชิงช่างในสถาปัตยกรรมโคโลเนียลสไตล์ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลในการแยกประเภทของอิทธิพลเชิงช่าง ก่อนที่จะนำข้อมูลมาสังเคราะห์เพื่อจัดทำหนังสือภาพประกอบ จากการศึกษาพบว่า อิทธิพลเชิงช่างที่ส่งผลต่อสถาปัตยกรรมโคโลเนียลสไตล์ย่านการค้าเก่า จังหวัดหนองคายนั้น แบ่งได้ดังต่อไปนี้ 1)อิทธิพลช่างจีน จากลวดลายประดับที่ปรากฏบนอาคาร สื่อถึงคติความเชื่อของชาวจีน พบได้ในอาคารวิวัฒนการค้า ร้านบ้านทวด อาคารเก่าหน้าวัดศรีคุณเมืองและสุทินโภชนา 2)อิทธิพลช่างญวน จากการเป็นผู้ก่อสร้างอาคาร เนื่องจากในอดีตช่างญวณเป็นผู้ที่มีความชำนาญการในการก่อสร้างแบบก่ออิฐถือปูน เพราะได้รับอิทธิพลจากการตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกมาก่อน พบได้ในอาคารโคโลเนียลสไตล์เกือบทุกหลัง และ 3)อิทธิพลช่างหลวง จากโครงสร้างของรูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารราชการต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากเมืองหลวง พบได้ในอาคารจวนผู้ว่าหลังเก่า ศุลกสถาน และศิลป์โสภา และดำเนินการออกแบบ เพื่อนำมาสร้างหนังสือภาพประกอบที่ให้ประโยชน์และคงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมต่อไป  
ผู้เขียน
617220009-1 น.ส. ชมนาด อุปชิตกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0