2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 สิงหาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารการแพทย์และสาธารณสุข งานวิจัย บริการวิชาการ และท่านุบ่ารุงศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN ISSN: 2673-0383 (Online) 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม–สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 89-101 
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุแยกตามกลุ่มอายุ ในเขตพื้นที่ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยภายในตัวบ้านและบริเวณรอบๆตัวบ้าน ระหว่างเดือนพฤษภาคม –กรกฎาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์หาความสัมพันธ์คราวละปัจจัยด้วยสถิติทดสอบ Chi-square test และ Fisher-exact test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ0.05และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์คราวละหลายปัจจัยด้วยสถิติทดสอบ Multiple logistic regression นำเสนอค่าความสัมพันธ์ด้วย Odds ratio และช่วงเชื่อมั่น 95%ผลการวิจัยพบว่าความชุกของการเกิดอุบัติเหตุในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 51.79 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนปลาย80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 59.38 อุบัติเหตุที่พบในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ คือ พลัดตกหกล้ม ร้อยละ 68.32ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุ โดยการคำนึงผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อายุ(ปี) การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัสสาวะในเวลากลางคืน การมองเห็น เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ บันได ลักษณะโถส้วม สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) กล่าวคือ กลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเป็น 9.35 เท่าของกลุ่มอายุ 60-69 ปี (95%CI = 2.50 –34.92) ลักษณะโถส้วมแบบนั่งยองๆมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเป็น 5.03 เท่าของโถส้วมแบบชักโครก (95%CI = 2.22 –11.38) การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเป็น 4.80 เท่าของการใส่รองเท้าที่เหมาะสม (95%CI = 1.34 –17.19)ดังนั้น จึงควรมีการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ 
     คำสำคัญ ผู้สูงอายุ อุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ 
ผู้เขียน
625110097-8 น.ส. ศิรประภา สมัตถะ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0