2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ อาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็ง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มีนาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รูปแบบ online 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มีนาคม 2564 
     ถึง 25 มีนาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 22 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 572-579 
     Editors/edition/publisher บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ อาการเหนื่อยล้าเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็ง และเป็นอาการที่วัยรุ่นโรคมะเร็งจัดให้เป็นอาการที่มีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อตนเองมากกว่าอาการอื่นๆ การประเมินอาการเหนื่อยล้าเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากเป็นอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่นๆ การศึกษาเบื้องต้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็ง โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็ง อายุ 10-19 ปี จำนวน 30 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับสูงกว่าตติยภูมิแห่งหนึ่ง โดยใช้แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า ประยุกต์มาจาก Fatigue Scale-Adolescent (FSA) ของไฮนด์และคณะในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นโรคมะเร็งมีอาการเหนื่อยล้าอยู่ในระดับน้อย (X = 28.7, S.D. = 7.6) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่วัยรุ่นโรคมะเร็งมีการรับรู้ถึงอาการเหนื่อยล้ามากที่สุด ได้แก่ ข้อ 6 “ฉันไปเรียนไม่ได้” ร้อยละ 56.7 ข้อที่วัยรุ่นโรคมะเร็งมีการรับรู้ถึงอาการเหนื่อยล้าน้อยที่สุด ได้แก่ ข้อ 11 “ฉันไม่อยากพบกับคนอื่น” ร้อยละ 50.0 ABSTRACT Fatigue is the common symptom in adolescents with cancer, and more severity than other symptoms. It’s difficult to assess due to fatigue must occur in conjunction with cluster symptoms. This preliminary study aimed to study the fatigue in adolescents with cancer. The samples were thirty patients, aged 10-19 years, who were treated in the super tertiary hospital. The data was collected by using the fatigue questionaire, that developed from Hinds, Fatigue Scale-Adolescent (FSA). The results showed that all adolescent had fatigue symptoms. (X = 28.7, S.D. = 7.6). For is item consider as follows., item 6th “I couldn't go to school.” was the most perception of fatigue, (56.7%), while item 11st “I don't want to. meet anyone” was the least perception of fatigue in adolescents with cancer (50.0%).  
ผู้เขียน
615060010-2 นาง อาภาพร ศรีโพธา [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0