2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การปกครองท้องถิ่นของประเทศในภูมิภาคอาเซียน ศึกษาเปรียบเทียบประเทศ สปป.ลาว กับประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 28 กันยายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ปัญญาปณิธาน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน 2565
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ หลังจากประเทศชาติได้รับการปลดปล่อยและสถาปนาเป็นสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในระยะปี ค.ศ 1975 - 1985 เป็นระยะปกปักรักษาจากผลของการปฏิวัติ รักษาบาดแผลสงคราม และฟื้นฟูเศรษฐกิจแห่งชาติ ในระยะนั้นอำนาจการปกครองท้องถิ่นมีสามขั้นคือ ขั้นแขวง ขั้นเมือง และขั้นตาแสง ซึ่งแต่ละขั้นมีคณะกรรมการปกครอง มีสภาประชาชน และบรรดาองค์การจัดตั้งมหาชน ภายใต้การนำของพรรคกลไกการคุ้มครองบริหารรัฐระยะนี้เป็นการบริหารแบบเกื้อกูล หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2550 - 2551 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้มีสภาขั้นแขวงคืนมาใหม่ โดยมีการจัดตั้งการประชุมวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการค้นหาความเป็นไปใด้ในการให้มีสภาประชาชนขั้นแขวงหรือท้องถิ่น และการสร้างสภาขั้นแขวงอยู่ สปป. ลาว และในปีพ.ศ. 2558 ได้มีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญครั้งที่ 2 และมีการบัญญัติการจัดตั้งสภาประชาชนขั้นแขวงหรือท้องถิ่นอยู่ในหมวดที่ VIII นับจากมาตรา 76 ถึง มาตรา 84 ของรัฐธรรมนูญ และปี พ.ศ. 2558 เพื่อปฏิบัติบทบาทในการเป็นองค์กรตัวแทนแห่งสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน และเป็นองค์การอำนาจรัฐขั้นท้องถิ่นที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ในประเทศไทยการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มีวัตถุประสงค์ กระจายอำนาจบริหารไปสู่ท้องถิ่นโดยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลางในขอบเขตการกำกับดูแล กล่าวในอีกนัยหนึ่ง ก็คือ "ราชการส่วนท้องถิ่น" จึงถูกจัดตั้งขึ้นบนพื้นฐานของแนวความคิดในการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม อันเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย ดำเนินกิจการเพื่อประชาชนและโดยการกำกับดูแลของประชาชน  
     คำสำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
ผู้เขียน
615420016-6 Ms. ANOUSONE BOUALAPHANH [ผู้เขียนหลัก]
คณะสหวิทยาการ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0