2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดสภาวะฟันตกกระในฟันน้ำนมเด็กเล็ก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 4 ตุลาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ 043-347 057 ต่อ 42825 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 15 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ฟันตกกระ (Dental fluorosis) ไม่ใช่โรค แต่เป็นความผิดปกติของเคลือบฟัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดสภาวะฟันตกกระในฟันน้ำนมเด็กเล็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลกระหว่างเดือน มีนาคม - เมษายน 2564 จำนวน 486 คน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติพหุถดถอยแบบโลจิสติก นำเสนอค่า Adjusted Odds ratio ค่าช่วงความเชื่อมั่น 95% ค่า p-value ผลการศึกษา พบว่าความชุกของการเกิดสภาวะฟันตกกระในฟันน้ำนมเด็กเล็กมีสภาวะฟันตกกระมีจำนวนทั้งสิ้น 175 คน จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากทั้งหมด 486 คน คิดเป็นอัตราความชุกการเกิดสภาวะฟันตกกระร้อยละ 36.01 (95%CI, 31.85 – 40.39) โดยพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงจากแหล่งน้ำ และผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองที่ผลิตในพื้นที่ ที่มีปริมาณฟลูออไรด์ค่อนข้างสูง โดยพบว่าเด็กเล็กที่ใช้แหล่งน้ำดื่มจากน้ำประปาหมู่บ้านมีสภาวะฟันตกกระเป็น 2.88 เท่าของเด็กเล็กที่ไม่ได้ใช้แหล่งน้ำดื่มจากน้ำประปาหมู่บ้าน (ORadj = 2.88, 95%CI; 2.08 – 3.99, p < 0.001) เด็กเล็กที่รับประทานผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองที่ผลิตในอำเภอบางระกำ (1 กล่อง = 125 มิลลิลิตร) เป็นประจำมีสภาวะฟันตกกระเป็น 10.11 เท่าของเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง (ORadj = 10.11, 95%CI; 6.10 – 16.74, p < 0.001) ดังนั้นควรมีการจัดการระบบการเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพ ให้มีการตรวจคัดกรองเบื้องต้นต่อเนื่องเป็นประจำ และเสริมความรู้ในการเลือกแหล่งน้ำสำหรับบริโภค การเลือกผลิตภัณฑ์นมต่างๆ ที่ไม่มีปริมาณฟลูออไรด์สูงเกินมาตรฐาน และสร้างความความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่เด็กเล็กและผู้ปกครอง เพื่อป้องกันการเกิดสภาวะฟันตกกระและฟันผุได้ดียิ่งขึ้น  
     คำสำคัญ สภาวะฟันตกกระ ฟันน้ำนม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 
ผู้เขียน
625110081-3 นาย ณัฐชยุตม์ ประสานจิต [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0