2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความผิดปกติของการกินและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงของพื้นที่รับผิดชอบของเขตสุขภาพที่ 8 EATING DISORDERS AND ASSOCIATED FACTORS AMONG FEMALE ADOLESCENT STUDENTS IN THE RESPONSIBILITY AREA OF REGIONAL HEALTH 8th  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 ตุลาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน (Academic Journal of Community Public Health) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
     ISBN/ISSN ISSN 2408-2686 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน – มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ปัจจุบันโรคความผิดปกติของการกินพบเพิ่มมากขึ้นในวัยรุ่นเพศหญิง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของการกินของนักเรียนวัยรุ่นหญิง เขตสุขภาพที่ 8 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 450 คน เก็บข้อมูลส่วนบุคคล ความภาคภูมิใจในตนเอง การรับรู้รูปร่างตนเอง ปัจจัยด้านครอบครัว ด้านเพื่อน ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยใช้แบบสอบถามแบบให้ตอบเอง ประเมินความผิดปกติของการกินโดยใช้แบบประเมิน Eating Attitude Test-26 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่าง ๆ กับความผิดปกติของการกิน โดยใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 16.6 ± 0.9 ปี ความชุกของความผิดปกติของการกินของกลุ่มตัวอย่างพบร้อยละ 14.9 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของการกินของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ รายได้ของผู้ปกครองมากกว่า 15,000 บาท/เดือน (Adjusted OR [ORadj]: 2.5, 95% CI : 1.33- 4.84) การรับรู้รูปร่างตนเองว่าอ้วนกว่าการประเมิน (ORadj : 1.9, 95% CI : 1.01-3.73) ความภาคภูมิใจในตนเองระดับต่ำ-ปานกลาง (ORadj: 7.6, 95% CI : 1.65-34.76) กลุ่มที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง-สูง ของปัจจัยด้านครอบครัว (ORadj: 2.6, 95% CI : 1.16-5.97) ด้านเพื่อน ( ORadj: 4.7, 95% CI : 2.42-8.93) และ ด้านการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรูปร่าง (ORadj : 8.8, 95% CI : 2.56-29.99) ข้อสรุปของงานวิจัยพบว่า : นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความเสี่ยงของผิดปกติของการกินในอัตราที่มากกว่าในการศึกษาที่ผ่านมา ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง การรู้เท่าทันสื่อ รวมถึงการมีค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปร่าง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของการกินในระดับรุนแรงต่อไป 
     คำสำคัญ ความผิดปกติของการกิน, วัยรุ่นหญิง, ความภาคภูมิใจในตนเอง, การรับรู้รูปร่างตนเอง, นักเรียนมัธยมปลาย 
ผู้เขียน
625110055-4 นาย อภิชิต ศรีอวน [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0