2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 7 ตุลาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ฝ่ายวิจัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 2651-1770 
     ปีที่ ปีที 15 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บทคัดย่อ พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพของวัยรุ่นได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ซึ่งวัยรุ่นมักมีพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้หลายอย่างพร้อมกัน การศึกษาจึงนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของการมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียว และหลายอย่างร่วมกัน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพหลายอย่างร่วมกัน ในนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) เป็นการศึกษาเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาอายุ 16 - 20 ปี จำนวน 330 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบให้ตอบเอง ได้แก่ ลักษณะส่วนบุคคล ทัศนคติต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ ปัจจัยด้านครอบครัว ด้านเพื่อน ด้านสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงสื่อที่เกี่ยวข้อง และพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพในด้านการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด และการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพหลายอย่างร่วมกัน (ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง มีพฤติกรรมเสี่ยง 1 อย่าง มีพฤติกรรมเสี่ยง ≥ 2 อย่าง) โดยใช้สถิติ Multiple Ordinal Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 55.15 มีอายุเฉลี่ย 18.99 ± 1.06 ปี ความชุกของคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ 1 อย่างพบร้อยละ 46 พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ 2 อย่าง และ >= 3 อย่างพบร้อยละ 19.7 และ 4.5 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพหลายอย่างร่วมกันได้แก่ เพศชาย (adjusted OR [ORadj] = 1.92 , 95% CI: 1.22 – 3.01) กลุ่มอายุ 19 – 20 ปี (ORadj = 1.66 , 95% CI: 1.04 – 2.65) มารดามีการศึกษาระดับมัธยมต้นหรือต่ำกว่า (ORadj = 1.60 , 95% CI: 1.02 – 2.49) รายได้ครอบครัวมากกว่า 3,000,000 (กีบ/เดือน) (ORadj = 2.86 , 95% CI: 1.35 – 6.08) ปัจจัยด้านเพื่อนที่มีคะแนนความเสี่ยงมาก (ORadj = 1.77 , 95% CI: 1.32 – 2.79) ปัจจัยด้านการเข้าถึงสื่อที่มีคะแนนความเสี่ยงมาก (ORadj = 1.61 ,95% CI: 1.03 – 2.49) สรุป: เกือบครึ่งหนึ่งของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคอาชีวศึกษา ในสปป. ลาว มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ 1 อย่าง และหนึ่งในสี่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพร่วม 2 อย่างขึ้นไป ดังนั้นควรมีการดำเนินโครงการที่เน้นให้นักศึกษาตระหนักถึงผลกระทบของการมีพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนักศึกษาชาย ที่ครอบครัวมีรายได้มาก และมารดามีการศึกษาต่ำ โดยแนะนำให้ปฏิบัติตามอย่างเพื่อนที่มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดี และเลือกใช้สื่อที่ให้ความรู้ที่ส่งเสริมสุขภาพ คำสำคัญ: พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ, นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค, สปป. ลาว  
     คำสำคัญ พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ, นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค, สปป. ลาว 
ผู้เขียน
625110103-9 Mrs. MANEEVONE PHAFONG [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0