2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการใช้ดัชนีความรุนแรงในการประเมินคัดแยกประเภทผู้ป่วยและการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงในผู้สูงอายุที่มารับบริการการตรวจ ณ ห้องตรวจอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา: การศึกษานำร่อง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 พฤษภาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม นกำรประชุมวิชำกำรน ำเสนอผลงำนวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษำแห่งชำติ ครั้งที่ ๕๒ (The 52nd National Graduate Research Conferenc 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยบูรพารูปแบบออนไลน์ 
     จังหวัด/รัฐ ชลบุรี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 28 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 52 
     Issue (เล่มที่) 52 
     หน้าที่พิมพ์ 1069-1079 
     Editors/edition/publisher บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา 
     บทคัดย่อ การศึกษานำร่องครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการใช้ดัชนีความรุนแรงในการคัดแยกประเภทผู้สูงอายุแรกรับและการประเมินซ้ำ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินระดับความรุนแรงของผู้สูงอายุที่มารับบริการ ณ ห้องตรวจอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ทำการศึกษากรณีศึกษาผู้สูงอายุจำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ ดัชนีความรุนแรง (Emergency severity index : ESI) โดยได้รับการประเมินความน่าเชื่อถือระหว่างผู้ประเมินด้วยสถิติ KAPPA เท่ากับ 0.89 และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุและพยาบาลผู้ประเมินคัดแยก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเขียนรายงานกรณีศึกษา เพื่อให้เห็นปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรง ผลการศึกษาภายหลังมีการประเมินติดตามประเมินอาการซ้ำพบว่าการคัดแยกประเภทผู้ป่วยมีการคัดแยกต่ำกว่าเกณฑ์ (Under triage) 3 ราย และคัดแยกสูงกว่าเกณฑ์ (Over triage) 2 ราย ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความรุนแรงได้แก่ ความสูงอายุ พยาธิภาพของโรค ประสบการณ์ในการคัดแยกและความสามารถในการทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าของพยาบาล ช่วงเวลาที่ทำการคัดแยก สภาพการณ์หรือบริบทการให้การดูแล และ ผู้สูงอายุและญาติไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับ ซึ่งผลจากการศึกษาครั้งนี้จะช่วยชี้นำแนวทางในการดำเนินการเพื่อลดอุบัติการณ์ผู้สูงอายุมีระดับความรุนแรงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการศึกษาในอนาคตที่ใช้กลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้นและระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้นต่อไป 
ผู้เขียน
625060026-8 นาง พัชราวรรณ ณรงค์สระน้อย [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0