2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินความเสี่ยงและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงต่อการปวดบริเวณคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากรในสถานพยาบาลของรัฐ จังหวัดเพชรบุรี 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 กันยายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 29 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดคอ ไหล่ หลังในทันตบุคลากร จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ทันตบุคลากรที่ประจำอยู่สถานพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดเพชรบุรี ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 118 คน โดยใช้แบบสอบถามประเมินความรู้สึกไม่สบายบริเวณคอ ไหล่ หลังของร่างกายจากการทำงาน การสังเกตท่าทางการทำงานด้วยการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้วิธี RULA (Rapid Upper Limb Assessment) และประเมินความเสี่ยงต่อการปวดคอ ไหล่ หลัง โดยเมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับเสี่ยงโดยใช้สถิติพหุถดถอยลอจีสติก แสดงค่า Adjusted odds ratio (ORAdj.) ช่วงความเชื่อมั่น 95%CI ที่ระดับนัยสำคัญ p-value <0.05 ผลการศึกษาพบว่าระดับความรู้สึกไม่สบายทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของทันตบุคลากร จังหวัดเพชรบุรี ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยระดับความรู้สึกไม่สบายตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป พบตำแหน่งที่มีปัญหาสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ คอ ร้อยละ 55.08 รองลงมา คือ ไหล่ ร้อยละ 46.61 และหลัง 41.53 ตามลำดับ และจากเมตริกความเสี่ยง ทันตบุคลากรมีความเสี่ยงสูงต่อการปวดคอ ไหล่ หลัง ร้อยละ 42.37 และเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ร้อยละ 56.63 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเสี่ยงสูงต่อการปวดคอ ไหล่ หลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ทันตบุคลากรที่มีสถานภาพสมรสมีคู่ (ORAdj. = 5.26, 95%CI = 1.84-15.03) ทันตบุคลากรที่มีโรคประจำตัว (ORAdj. = 4.49, 95%CI = 1.18-16.98) อุปกรณ์สำหรับการออกหน่วยบริการทันตกรรมที่ไม่เหมาะสม (ORAdj. = 7.75, 95%CI = 1.57-38.28) ท่านั่งที่หลังงอในการให้บริการทันตกรรม (ORAdj. = 3.00, 95%CI = 1.05-8.56) และภาระงานที่มีความเสี่ยงอันตรายหรืออุบัติเหตุในระดับความเสี่ยงค่อนข้างสูง (ORAdj. = 3.69, 95%CI = 1.22-11.13) ดังนั้นเมตริกความเสี่ยงนี้เป็นประโยชน์ต่อการเฝ้าระวัง และปัจจัยเสี่ยงที่พบสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการปวดคอ ไหล่ หลัง ในทันตบุคลากรได้ต่อไป 
     คำสำคัญ ทันตบุคลากร, เมตริกความเสี่ยงต่อ MSDs, การปวดคอ ไหล่ หลัง, RULA 
ผู้เขียน
625110009-1 น.ส. ชลิตา ช่ออบเชย [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0