ชื่อบทความ |
การจัดการทรัพย์สินที่ริบตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ให้ตกเป็นของกองทุน |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
11 ตุลาคม 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
Journal of Modern Learning Development |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่ บจก. พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
7 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม – กุมภาพันธ |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การจัดการทรัพย์สินที่ริบตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นกระบวนการจัดการทรัพย์สินของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เมื่อศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินนั้น การวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่าการดำเนินการจัดการทรัพย์สินที่ริบทรัพย์สินในคดียาเสพติดเพื่อตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีวิธีการและปัญหาอย่างไร ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสารและการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องกับจำนวนทั้งสิ้น 13 คน ผลการวิจัยพบว่า การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติดสามารถริบได้ 2 แบบ คือ การริบทรัพย์สินของกลางและการริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ผลการวิจัยยังพบว่าอัตราจำนวนการยึดอายัดทรัพย์มีมูลค่าที่สูงกว่าอัตราจำนวนทรัพย์สินตกเป็นของกองทุนฯ เนื่องจากระยะเวลากระบวนการที่นานและสถานที่เก็บรักษาไม่เหมาะสม ทำให้ทรัพย์สินเสื่อมสภาพและมูลค่าลดลง และการตีความของทรัพย์สินที่สามารถริบได้มีความหมายกว้าง ฉะนั้น เพื่อการริบทรัพย์ให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดควรแก้ไขกฎหมายโดยระบุทรัพย์สินที่สามารถริบได้หากทรัพย์สินนั้นเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้นโดยตรง |
คำสำคัญ |
การริบทรัพย์, พระราชบัญญัติ, มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิด |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|