2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยทำนายความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 ตุลาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการโรงพยาบาลมหาสารคาม 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร งานห้องสมุด โรงพยาบาลมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 19 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน 2565
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บระดับปานกลางถึงรุนแรงที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่ง รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (correlational predictive study) จากผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า เพศ ตำแหน่งที่บาดเจ็บ คะแนนระดับความรู้สึกตัว (GCS) แรกรับ ผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่พบความผิดปกติ การผ่าตัดชนิด Decompressive craniectomy ภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน (Hypoxia) ภาวะ Hyperglycemia ภาวะไข้และภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำสามารถทำนายความรุนแรงของการบาดเจ็บสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายใน 72 ชั่วโมงหลังสมองได้รับบาดเจ็บและเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์คัดเข้าศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 285 ราย เก็บข้อมูลโดยวิธีรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล ดังนี้1) วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics) และ 2)วิเคราะห์ปัจจัยทำนายความรุนแรงในผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก(multiple logistic regression analysis) ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 ราย มีอายุระหว่าง 18-89 ปี อายุเฉลี่ย 45.73 (SD =19.70) เป็นเพศชายร้อยละ 81.80 ส่วนใหญ่สมองบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรร้อยละ 63.90 และ ตกจากที่สูงหรือหกล้มร้อยละ 30.50 กลุ่มตัวอย่างสมองบาดเจ็บระดับปานกลางร้อยละ 49.80 และระดับรุนแรงร้อยละ 50.20 พบอัตราการเกิดความรุนแรงของการบาดเจ็บสมอง (คะแนน RTS ≤ 4 คะแนน) ร้อยละ 24.90 ปัจจัยทำนายความรุนแรงของการบาดเจ็บสมอง ได้แก่ Glasgow Coma Score แรกรับ 3-8 คะแนน (ORAdj=39.77; 95%CI: 14.04-112.65; p–value<.001), ผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์พบ Intracerebral hemorrhage (ORAdj=3.38; 95%CI=1.25-9.13:; p–value=.001), subarachnoid hemorrhage (ORAdj=2.94; 95%CI: 1.31-6.60; p–value=<.0.01) และ O2 sat แรกรับ 90% (ORAdj =8.74; 95%CI : 1.32-57.64 ; p–value =0.02) สรุปผลการศึกษา : พยาบาลสามารถนำข้อมูลปัจจัยทำนายไปวางแผนดูแลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บปานกลางถึงรุนแรงโดยคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังสมองบาดเจ็บภายใน 72 ชั่วโมง  
     คำสำคัญ คำสำคัญ: ผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ, ปัจจัยทำนายความรุนแรงของการบาดเจ็บสมอง 
ผู้เขียน
625060056-9 น.ส. ปลมา โสบุตร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0