2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ “เครื่องแต่งกายราชสำนักหลวงพระบาง สัญลักษณ์ ความสัมพันธ์ ล้านช้างและสยาม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 ตุลาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร Asia Pacific Journal of Religions and Cultures 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, 51 M.2, Raikhing, Samphran, Nakhon Pathom,73210, Thailand. 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ Vol 6  
     ฉบับที่ No 1  
     เดือน (January - June 2022)
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ บทความเรื่อง เครื่องแต่งกายราชสำนักหลวงพระบาง : รูปแบบ และ สัญลักษณ์ ความสัมพันธ์ล้านช้างและสยาม มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสัญลักษณ์ของเครื่องแต่งกายของเจ้ามหาชีวิตหลวงพระบาง 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักหลวงพระบางและสยามผ่านสัญลักษณ์เครื่องแต่งกายราชสำนักเป็นการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ในหลวงพระบาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แล้วมาวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีประวัติศาสตร์ ทฤษฎีสัญญะวิทยา แล้วนำเสนอโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ จากการศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ พบว่า ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเครื่องแต่งกายราชสำนักหลวงพระบางในช่วงเริ่มรวมประเทศถือเป็นยุคสมัยการก่อสร้างตัวของรูปแบบเครื่องแต่งกายราชสำนักผ่านคติความเชื่อทางศาสนาและความเชื่อเดิม จนเกิดเป็นการแต่งกายราชสำนักโดยรับเอาอิทธิการรูปแบบจากอาณาจักร โดยมีความหลากหลายของชนเผ่า มาปรับให้เข้ากับรสนิยมของราชสำนัก ผนวกกับแนวคิดทางศาสนาพุทธ จนเกิดเป็นแบบโบราณราชประเพณี ส่วน ล้านช้างสมัยเจริญรุ่งเรือง รูปแบบการแต่งกายและผ้าจึงมีเอกลักษณ์ที่แสดงว่าตนเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นๆ มีการทำรูปแบบที่มีแบบแผน มีระเบียบจารีตมากขึ้น เพื่อให้มีเอกลักษณ์ของตน เพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และสมัยอาณาจักรล้านช้างสมัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุด สะท้อนเอกลักษณ์การแต่งกายของราชสำนักหลวงพระบาง พบสัญลักษณ์ที่เป็นวัตถุดิบที่ มีค่า หายาก และ นำเข้า สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ในทุกส่วนแต่ยังคงแนวคิดทางพุทธศาสนา ส่วนสมัยการแตกแยกภายใน สยามและอาณานิคมเข้ารุกรานเข้ายึดครอง ส่งผลสัญลักษณ์ที่ทำให้เครื่องแต่งกายปรากฏอิทธิพลรูปแบบอย่างสยาม ทั้งวัตถุดิบจากสยาม และรูปแบบอย่างสยาม รวมทั้งได้รับเครื่องแต่งกายอย่างสยาม จนในที่สุดยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังจากสยามหมดอำนาจ หลวงพระบางรับเอารูปแบบวิทยาการอย่างฝรั่งเข้ามา ทำให้มีการปรับรูปแบบการแต่งกายใหม่ สัญลักษณ์ที่ปรากฏที่มองว่ามีความทันสมัยมากกว่า เพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางการทูต และ สถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ให้คงอยู่ ถึงกระนั้น การแต่งกายของราชสำนักยังคงดำเนินต่อแต่ไม่มาก เนื่องจากความวุ่นวายภายใน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เจ้าศรีสว่างวงศ์ และ เจ้าศรีสว่างวัฒนา ก็ยังคงมีความสัมพันธ์อันดีกับราชสำนักสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช การแลกเปลี่ยนเครื่องราช อิสริยาภรณ์ในการประดับเครื่องแต่งกาย ที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างล้านช้างและสยาม ส่วนสัญลักษณ์ ของเครื่องแต่งกาย ลักษณะกายภาพภาพรวมของการแต่งกาย เมื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพแล้ว พบว่า ทั้งมงกุฎ เครื่องประดับศรีษะ ภูษาภรณ์ ที่มีทั้งส่วนเสื้อ ผ้านุง รองพระบาท และส่วน เครื่องประดับ ร่างกายต่างๆ ซึ่งปรากฏเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือ นุ่งผ้ายก นุ่งโจง ผ้ามีราคาสูงหายาก โดยมากราชสำนักใช้วัสดุแพงหายาก ทั้งที่ เป็นผ้าชนิดต่างๆ มีความสำคัญในฐานะที่เป็นวัตถุที่ความมั่งคั่ง ศักดิ์สิทธิ์ อุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีสกุลช่าง ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นทั้งช่างหลวงฝีมือดี ในการผลิตผ้าและเครื่องแต่งกาย ซึ่งได้รับเป็นเครื่องบรรณาณาการมาจากสยาม นำมาประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับรสนิยมของราชสำนัก และปรากฏสัญลักษณ์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องสมมุติเทพ และคติไตรภูมิ และศาสนา ความสัมพันธ์ทางการทูต และยังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในทางการเมืองและความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ที่สะท้อนถึงเหตุการณ์บ้านเมืองของล้านช้างหลวงพระบางเองด้วย ความสัมพันธ์ พบว่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เครื่องแต่งกายของล้านช้างได้รับอิทธิพล และแนวคิดรูปแบบจากสยามในช่วงเวลาที่มีความสัมพันธ์ ในฐานะความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ความสัมพันธ์ในทางการปกครอง ส่วนความสัมพันธ์จากหลักฐานศิลปกรรม พบว่า รูปแบบการแต่งกายภายใต้การปกครองของสยามนั้น ส่งผลให้ ล้านช้างหลวงพระบางซึมซับเอารูปแบบของเครื่องแต่งกายอย่างสยาม เป็นแรงบันดาลใจแก่ล้านช้างส่วน ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายราชสำนัก พบว่าเครื่องแต่งกายแบบอุดม และ .เครื่องแต่งกายตามจริงตามชีวิตประจำวัน ส่วนศิลปวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์ของเครื่องแต่งกายสะท้อนผ่านวรรณกรรม สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมร่วม ดังนั้นเครื่องแต่งกายราชสำนักจึง ได้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างล้านช้างหลวงพระบาง และสยาม ซึ่งทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมร่วมที่ล้านช้างและสยามที่อยู่ไกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นเหตุให้นำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน  
     คำสำคัญ เครื่องแต่งกายราชสำนักหลวงพระบาง/สัญลักษณ์/ความสัมพันธ์/ราชสำนักสยาม 
ผู้เขียน
617220025-3 นาย วิทยา วุฒิไธสง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum