2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในทักษะการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดโดยพยาบาล (Development of a health literacy questionnaire in neonatal developmental promotion skills by nurses) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 11 กันยายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "The 5th Nursing student Form: Hoe We Fight The Covid-19: Research, Practice, and Innovation"  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา 
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา 
     จังหวัด/รัฐ พะเยา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 10 กันยายน 2564 
     ถึง 12 กันยายน 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ การพัฒนาแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในทักษะการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดโดยพยาบาล บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนา เพื่อศึกษาข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพในทักษะการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดโดยพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในการดูแลทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบออนไลน์ ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงของแบบสอบถามมีค่า 0.6 – 1.0 คะแนนความเชื่อมั่นของความรอบรู้ด้านสุขภาพของพยาบาลมีค่าครอนบาคแอลฟา เท่ากับ 0.973 ใช้เวลาดำเนินการ 3 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลของการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพในทักษะการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดของพยาบาลแบ่งเป็น 6 ด้าน ดังนี้ (1) ทักษะด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพด้านการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดมีค่าคะแนนความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.882 (2) ทักษะด้านความรู้ความเข้าใจด้านการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดมีค่าคะแนนความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.968 (3) ทักษะด้านการสื่อสารด้านการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดมีค่าคะแนนความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.930 (4) ทักษะด้านการจัดการตนเองด้านการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดมีค่าคะแนนความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.931 (5) ทักษะด้านการตัดสินใจด้านการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดมีค่าคะแนนความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.925 และ (6) ทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อด้านการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดมีค่าคะแนนความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.884 ดังนั้นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในการดูแลทารกแรกเกิดระยะเจ็บป่วยจึงควรมีการส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิดอย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พัฒนาการทารกแรเกิด พยาบาลวิชาชีพ Development of a health literacy questionnaire in neonatal developmental promotion skills by nurses Abstract This study was descriptive research to examine the health literacy data in newborn developmental promotion skills by nurses. The sample consisted of 20 registered nurses working in neonatal care in a tertiary care hospital. The instrument used to collect data was an online questionnaire. The Index of item objective congruence of the questionnaire was 0.6 – 1.0 and the confidence score of nurses' health literacy was Cronbach-Alpha was 0.973. Processing time was 3 weeks. Data were analyzed using descriptive statistics. The results of the research showed that The mean scores of health literacy in nurses' neonatal developmental promotion skills were divided into 6 areas (1) The skills in accessing health information and health services in the field of neonatal development have a confidence score of 0.882, (2) The cognitive skills for the development of newborns had a confidence score of 0.968, (3) The neonatal development promotion communication skill has a confidence score of 0.930, (4) The neonatal development promotion self-management skill has a confidence score of 0.931, (5) Skills for the decision-making on newborn development promotion, the confidence score was 0.925, and (6) The media literacy skills in neonatal development promotion had a confidence score of 0.884. Conclusion nurses who were taking care of newborns during the illness period should be continually promoting the development of newborns. Keywords: health literacy, newborn baby development, professional nurse  
ผู้เขียน
625060054-3 นาง รัตนา ศรีโย [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0