2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพและปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา Relationships Between Health Literacy And Personal Factors and Health Behaviors of Hypertension Patients in Non Sung District, Nakhon Ratchasima Province 
Date of Acceptance 3 November 2021 
Journal
     Title of Journal วาสารร่มพฤกษ์ 
     Standard TCI 
     Institute of Journal มหาวิทยาลัยเกริก 
     ISBN/ISSN  
     Volume 40 
     Issue
     Month มกราคม-เมษายน
     Year of Publication 2022 
     Page  
     Abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง (Cross-Sectional Survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ทางสุขภาพและระดับพฤติกรรมสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพ ปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 385 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติการทดสอบไคสแควร์ และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 98.70 มีความรอบรู้ทางสุขภาพโดย รวมอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 84.42 มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการสื่อสารข้อมูลทางสุขภาพ ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ เพศ อาชีพ การมีโรคร่วมอื่นๆ ระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง จำนวนสมาชิกในครอบครัว และ บทบาทในครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ มีรายได้เพียงพอแต่ไม่เหลือเก็บ ระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง จำนวนสมาชิกในครอบครัว และบทบาทหรือตำแหน่งทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ความรอบรู้ทางสุขภาพเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งพยาบาลชุมชน เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดแผนและให้การสนับสนุนรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างจริงจังให้สอดคล้องกับวัยและระดับการศึกษาของผู้ป่วย 
     Keyword ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง; ปัจจัยส่วนบุคคล; ความรอบรู้ทางสุภาพ; พฤติกรรมสุขภาพ 
Author
615060035-6 Miss CHATSAKUL MABCHANTUK [Main Author]
Nursing Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Attach file
Citation 0

<
forum