2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับยาเมทฟอร์มินที่เหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 5 พฤศจิกายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ปัจจุบันมีแนวโน้มของยาเมทฟอร์มินที่เหลือใช้ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับยาเมทฟอร์มินที่เหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนกับคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่าง 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563 จำนวน 400 คน ตรวจนับเม็ดยาเมทฟอร์มินที่กล่องรับยาคืน ณ คลินิกเบาหวาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับยาเมทฟอร์มินที่เหลือใช้โดยใช้ สถิติ Multiple logistic regressions ผลการศึกษา พบจำนวนผู้ป่วยมียาเมทฟอร์มินเหลือใช้ ร้อยละ 64.2 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.4 มียาเมทฟอร์มินที่เหลือใช้ 1 – 10 เม็ด และผู้ป่วยร้อยละ 63.4 ให้ข้อมูลยาเมทฟอร์มินเหลือใช้มักเกิดจากแพทย์จ่ายยาเกินวันนัด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมียาเมทฟอร์มินเหลือใช้ ประกอบด้วย อายุผู้ป่วยมากกว่า 60 ปี (ORadj = 1.80, 95% CI = 1.11-2.91) จำนวนเม็ดยาเมทฟอร์มินที่รับประทานต่อวันตั้งแต่ 3 เม็ดขึ้นไป (ORadj = 3.22, 95%CI = 1.85-5.62) และระยะเวลาที่แพทย์สั่งยาตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป (ORadj = 2.51, 95%CI = 1.60 - 3.96) สรุป ปริมาณยาเมทฟอร์มินเหลือใช้จำนวนมาก ทั้งนี้มีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยสูงอายุ ปริมาณการรับประทานยาเมทฟอร์มินต่อวันเกินขนาดยาที่แพทย์แนะนำ และการสั่งจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยต่อรอบระยะเวลาการนัดหมายค่อนข้างนาน ดังนั้นควรมีการวางแผนจัดการระบบวันนัดให้พอดีกับจำนวนเม็ดยา ปรับลดระยะเวลาที่แพทย์สั่งยาให้น้อยกว่า 3 เดือน และการบริหารยาในผู้ป่วยสูงอายุ 
     คำสำคัญ เมทฟอร์มิน, ยาเหลือใช้, เบาหวานชนิดที่ 2 
ผู้เขียน
625110044-9 น.ส. พิมพ์ชนก ศิริบูรณ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0