2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดในการเลี้ยงโคเนื้อแบบกลุ่มของเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชุนในพื้นที่ อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 พฤศจิกายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน เดือนมีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 16 
     บทคัดย่อ การวิจัยแนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดในการเลี้ยงโคเนื้อแบบกลุ่มของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการ 2) ศึกษาความสนใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดในการเลี้ยงโคเนื้อแบบกลุ่มของเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชุนในพื้นที่อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี จำนวน 8,500 ครัวเรือน ผลการศึกษาพฤติกรรมของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ไม่ได้เลี้ยงโคเนื้อ ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ไม่รู้จักสินเชื่อโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเนื่องจากชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของธนาคาร ติดต่อขอสินเชื่อที่สาขาโดยตรง ชำระสินเชื่อด้วยตนเอง มีเงินกู้คงเหลือกับ ธ.ก.ส. ต่ำกว่า 100,000 บาท กู้เงินเพื่อใช้ในการทำนา ทำไร่ ทำสวน และชำระหนี้ได้ทันตามกำหนดระยะเวลา มีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ถึงร้อยละ 80.50 ของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดในการเลี้ยงโคเนื้อแบบกลุ่มของเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชุนในพื้นที่อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี มีการดำเนินโครงการด้านสินเชื่อ จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย 2) โครงการสนับสนุนส่งเสริมการทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อปรับโครงสร้างการผลิต 3) โครงการสนับสนุนการขยายธุรกิจและเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกร และ 4) โครงการสินเชื่อนวัตกรรมการเกษตร (Smart Farmer) 
     คำสำคัญ แนวทางการพัฒนา; ศักยภาพทางการตลาด; การเลี้ยงโคเนื้อแบบกลุ่ม; เกษตรกร; วิสาหกิจชุมชุน 
ผู้เขียน
625740243-3 น.ส. ลลิตตา มหาพรม [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0