2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากต่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 7 ธันวาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วิทยาสารทันตสาธารณสุข  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักทันตสาธารณสุข กลุ่มพัฒนาระบบทันตสาธารณสุข กรมอนามัย อาคาร 5 ชั้น 3 กระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 26 
     ฉบับที่  
     เดือน มกราคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การศึกษาเชิงกึ่งทดลองนี้ต้องการศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แขวงX สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ จำนวน 60 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายในการได้มาซึ่งโรงเรียนสำหรับกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ แต่ละโรงเรียนมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบซึ่งมี 5 กิจกรรม คือ 1) พัฒนาทักษะการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพช่องปาก 2) เพิ่มพูนความรู้ 3) แปรงฟัน 4) ฝึกตรวจเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก และ 5) กระตุ้นการแปรงฟัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากตามปกติของโรงเรียนคือ การแปรงฟันช่วงพักหลังรับประทานอาหารกลางวัน เครื่องมือวัดผลการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) แบบประเมินพฤติกรรม (การบริโภคอาหาร การแปรงฟัน การตรวจและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก) 3) แบบประเมินปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ และ 4) แบบประเมินสภาพเหงือกอักเสบโดยทันตแพทย์ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ด้วย Paired Sample t-test, Wilcoxon Match Paired Signed Ranks Test, Independent t-test และ Mann-Whitney U test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 หลังทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการแปรงฟัน พฤติกรรมการตรวจและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากดีขึ้นกว่าก่อนทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) มีสภาพเหงือกอักเสบและปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ในกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพนี้สามารถนำไปใช้ในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้  
     คำสำคัญ ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก การป้องกันโรค เหงือกอักเสบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 
ผู้เขียน
625110099-4 Miss ORLADY XAYAVONG [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0