2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาตารางชีวิตแมลงวันทอง Bactrocera dorsalis (Hendel) และแมลงวันฝรั่ง Bactrocera correcta (Bezzi) ในพุทรานมสด (Ziziphus jujuba Mill.) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 กันยายน 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 50 
     ฉบับที่
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ แมลงวันทอง Bactrocera dorsalis (Hendel) และแมลงวันฝรั่ง Bactrocera correcta (Bezzi) จัดเป็นศัตรูสำคัญของพุทรานมสด (Ziziphus jujuba Mill.) ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบระยะเวลาการเจริญเติบโตและตารางชีวิตของแมลงวันทั้ง 2 ชนิด เพื่อนำไปใช้ทำแบบจำลองในการพยากรณ์การระบาดของแมลงวันผลไม้ในแปลงพุทรานมสด โดยเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันทอง B. dorsalis และแมลงวันฝรั่ง B. correcta ด้วยพุทรานมสดเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตในแต่ละวัน การรอดชีวิตและความอุดมพันธุ์ โดยใช้การวิเคราะห์ผลตารางชีวิตแบบ Partial ecological life table และ Biological life table ของแมลงทั้ง 2 ชนิด ผลการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตของแมลงวันทองระยะหนอนใช้ระยะเวลา 8.72±1.49 วัน ส่วนแมลงวันฝรั่ง 6.63±1.01 วัน ขนาดความยาวตัวหนอน (อายุ 1 วัน) และความกว้างลำตัวหนอน (อายุ 7 วัน) ของแมลงวันฝรั่งมากกว่าแมลงวันทอง ค่าสัมประสิทธิ์การเพิ่มทางพันธุกรรม (r) ของแมลงวันทองและแมลงวันฝรั่งเท่ากับ 0.23 และ 0.20 ตัว/วัน ตามลำดับ อัตราการขยายพันธุ์สุทธิ (R0) ของแมลงวันทอง คือ 1036.88 เท่า ขณะที่แมลงวันฝรั่ง มีค่า 351.03 เท่า อัตราการเพิ่มขึ้นที่แท้จริง (λ) ของแมลงวันทองและแมลงวันฝรั่ง เท่ากับ 1.26 และ 1.22 ตัว/วัน ชั่วอายุขัยของกลุ่ม (T) ของแมลงวันทองและแมลงวันฝรั่ง เท่ากับ 29.58 และ 29.10 วัน ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแมลงวันทองมีการเจริญเติบโตสูงกว่าแมลงวันฝรั่ง  
     คำสำคัญ แมลงวันผลไม้; การเจริญเติบโต; อัตราการรอดชีวิต; ความอุดมพันธุ์ 
ผู้เขียน
625030016-9 น.ส. ทิพย์ธิดา กาสี [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0