2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ประสิทธิภาพสารสกัดหยาบพืชสมุนไพรท้องถิ่นต่อด้วงงวงข้าว (Sitophilus oryzae L.) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 ธันวาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 50 
     ฉบับที่
     เดือน ก.ค.-ส.ค.
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า 945-958 
     บทคัดย่อ ด้วงงวงข้าว (Sitophilus oryzae L.) สามารถทำลายธัญพืชได้เกือบทุกชนิด เป็นแมลงศัตรูพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเป็นสาเหตุทำให้คุณภาพและปริมาณของผลิตผลในโรงเก็บลดลง วัตถุประสงค์ในครั้งนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการไล่ ความเป็นพิษทางสัมผัสและพิษทางรมของสารสกัดจากพืช 10 ชนิดได้แก่ ผักแขยง (Limnophila aromaticMerr.) ชะพลู (Piper sarmentosum Roxb.) ผักแพว (Polygonum odoratumLour.) แมงลัก (Ocimum americanum L.) โหระพา (Ocimum basilicum L.) มะระขี้นก (Momordica charantia L.) ยี่หร่า (Ocimum gratissimum L.) บัวบก (Centella asiatica (Linn.) Urban.) ผักชีลาว (Anethum graveolens L) และมะกรูด (Citrus hystrix DC.) ด้วยตัวทำละลายเอทานอล ทดสอบประสิทธิภาพสารสกัดหยาบกับด้วงงวงข้าวระยะตัวเต็มวัยที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน ได้แก่ 0, 25, 50, 75, และ 100% (w/v) โดยประเมินประสิทธิภาพการออกฤทธิ์เป็นสารสัมผัส สารรมและสารไล่ ผลการทดสอบพบว่าหลังการทดสอบ 24 ชั่วโมงสารสกัดหยาบมะกรูดความเข้มข้น 100% (w/v ) มีประสิทธิภาพการไล่ด้วงงวงข้าวสูงสุด 81.69% รองลงมาคือแมงลัก (73.56%) และโหระพา (71.75%) สำหรับสารสกัดหยาบที่มีประสิทธิภาพความเป็นพิษทางสัมผัสมากที่สุดคือโหระพาความเข้มข้น 100% (w/v) ทำให้ด้วงงวงข้าวตาย 100.00% มีค่า LC50 เท่ากับ 43.65 ก./มล. หลังการทดสอบ 72 ชั่วโมง รองลงมาคือสารสกัดหยาบความเข้มข้น 100% (w/v) ของมะกรูด (80.00%) มีค่า LC50 เท่ากับ 123.03 ก./มล. และผักแขยง (46.00%) มีค่า LC50 เท่ากับ 151.36 ก./มล. และประสิทธิภาพการรมที่ดีที่สุดคือสารสกัดหยาบของโหระพาความเข้มข้น 100% (w/v) ที่เวลา 24, 48, และ 72 ชั่วโมง โดยพบการตายของด้วงงวงข้าว 24.00, 86.00, และ 100.00% ตามลำดับ ในการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาสารสกัดจากพืชให้เหมาะสมต่อการจัดการควบคุมด้วงงวงข้าวในลำดับต่อไป  
     คำสำคัญ ด้วงงวงข้าว; การไล่; ความเป็นพิษ; การรม; สารสกัดพืชสมุนไพรท้องถิ่น 
ผู้เขียน
625030017-7 น.ส. ประภาภรณ์ เพียงสุวรรณ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0