2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของผู้พิการทางสายตา ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น 
Date of Acceptance 27 January 2022 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     Volume 15 
     Issue
     Month มกราคม - มีนาคม 2565
     Year of Publication 2022 
     Page  
     Abstract บัทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บของผู้พิการทางสายตาในโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ซึ่งมี 4 ตอนคือ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุของผู้พิการทางสายตา ในรอบ 6 เดือน (เดือนกันยายน 2563 – กุมภาพันธ์ 2564) ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน และ ข้อมูลการอบรมของผู้พิการทางสายเกี่ยวกับการฝึกทักษะ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มีนาคม – เมษายน 2564 จำนวนผู้พิการทางสายตาทั้งสิ้น 93 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ต่ำสูงสุด ผลการศึกษา พบว่า อุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุของผู้พิการทางสายตาในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 88.17 เป็น เพศชาย และ เพศหญิง ร้อยละ 34.15, 65.85 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างทุกคนได้ผ่านการเรียนการฝึกทักษะ ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน มีราวจับเฉพาะในห้องน้ำ/ห้องส้วม และราวจับบันได ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุได้แก่ ถูกชน/ชนสิ่งกีดขวาง, หกล้ม/ลื่นล้ม, ไฟดูด/ไฟช็อต, ถูกหนีบ, ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย, ถูกของมีคมบาด, ถูกน้ำร้อน/ไฟลวก และวัตถุตกลงมากระแทก คิดเป็นอัตราอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุ เท่ากับ 67.74, 55.91, 47.31, 35.48, 22.58, 17.20, 13.98 และ 3.23 ตามลำดับ โดยอุบัติเหตุส่วนใหญ่ 3 อย่างแรก คือ อุบัติเหตุถูกชน/ชนสิ่งกีดขวาง มีสาเหตุหลักมาจากเดินชนกันกับเพื่อน/เพื่อนมาชน ร้อยละ 80.96 มักเกิดอุบัติเหตุในช่วงบ่าย, ช่วงเย็น ร้อยละ 17.46 เกิดอุบัติเหตุที่โรงอาหาร, หอนอน, โถงทางเดิน ร้อยละ 17.46 ลักษณะอาการบาดเจ็บจากการถูกชน/ชนสิ่งกีดขวาง ส่วนมากมีอาการศรีษะบวม ร้อยละ 3.17 และไม่ได้รับความบาดเจ็บ ร้อยละ 95.24 ส่วนอุบัติเหตุการหกล้ม/ลื่น ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพื้นลื่น ร้อยละ 42.31 เกิดอุบัติเหตุในช่วงเย็น ร้อยละ 30.77 สถานที่เกิดอุบัติเหตุคือห้องน้ำ/ห้องอาบน้ำ ร้อยละ 25.00 ลักษณะอาการบาดเจ็บจากการหกล้ม/ลื่น ส่วนใหญ่เกิดแผลถลอก ร้อยละ 61.54 และอุบัติเหตุที่ 3 เกี่ยวกับไฟดูด/ไฟช็อต ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากไฟดูดขณะชาร์จแบตโทรศัพท์ ร้อยละ 54.55 เกิดอุบัติเหตุในช่วงเย็น ร้อยละ 38.64 เกิดอุบัติเหตุที่ หอนอน ร้อยละ 75.00 การบาดเจ็บจากการถูกไฟดูด/ไฟช็อต ส่วนใหญ่มีอาการชา ร้อยละ 86.64 ข้อเสนอแนะ ควรมีการปรับสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะทางเดินแบบสากลสำหรับคนตาบอดระหว่างที่พัก ห้องอาหาร ห้องเรียน ห้องน้ำ สนามเด็กเล่น ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ อีกทั้งควรมีการจัดครูหรือเจ้าหน้าที่ที่คอยเฝ้าระวังดูแลช่วงเวลาการเล่น และมีการจัดนักเรียนเป็นแกนนำด้านการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุให้รุ่นพี่ดูแลรุ่นน้องหรือเพื่อนดูแลเพื่อน  
     Keyword อุบัติเหตุ การบาดเจ็บ คนตาบอด 
Author
625110067-7 Mr. NATTHAPHONG SIMSILA [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0