2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ โครงสร้างปริจเฉทโฆษณาออนไลน์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ Discourse Structure in online advertising for health supplement products 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มีนาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 22 (ออนไลน์) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มีนาคม 2564 
     ถึง 25 มีนาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 22 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 281-292 
     Editors/edition/publisher มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างปริจเฉทโฆษณาออนไลน์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ โดยเก็บข้อมูลจากช่องทางอีมาร์เก็ตเพลส 3 ช่องทาง ได้แก่ ช็อปปี้ ลาซาด้า และเจดีเซ็นทรัล โดยเก็บข้อมูลปริจเฉทช่องทางละ 20 ปริจเฉท ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างของปริจเฉทประกอบไปด้วยโครงสร้างทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างส่วนนำ โครงสร้างส่วนเนื้อหา และโครงสร้างส่วนท้าย โครงสร้างส่วนนำประกอบด้วย 1) การพาดหัวหลัก (Headline) จำนวน 7 รูปแบบ ได้แก่ การพาดหัวหลักแบบบอกกล่าว การพาดหัวหลักแบบใช้คำพูดของบุคคลที่น่าเชื่อถือ การพาดหัวหลักแบบ เน้นย้ำปัญหา การพาดหัวหลักแบบใช้การตั้งคำถาม การพาดหัวหลักแบบบอกชื่อผลิตภัณฑ์การพาดหัวหลักแบบ บอกประโยชน์ของผลิตภัณฑ์และการพาดหัวหลักแบบเล่นคำและ2) การพาดหัวรอง (Sub headline) โครงสร้างส่วนเนื้อหา ประกอบไปด้วย 1) ข้อความโฆษณา (Body Copy)2) คำขวัญโฆษณา (Slogan)และ3) ภาพประกอบ (Illustration) โครงสร้าง ส่วนท้ายประกอบไปด้วย 1) ข้อความลงท้ายโฆษณา (Ending) และ 2) ชื่อและสัญลักษณ์สินค้า (Brand name & Logo) โดยองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนของโครงสร้างปริจเฉทโฆษณาออนไลน์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เป็นการระบุข้อมูล รายละเอียดสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนโน้มน้าวความรู้สึกของผู้รับสาร หรือกลุ่มเป้าหมายให้คล้อยตามคำโฆษณา และ ชักจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายให้ซื้อผลิตภัณฑ์นั้นซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของปริจเฉทโฆษณา 
ผู้เขียน
625080026-6 นาย กฤติน ขันละ [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0