2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ กระบวนการของสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวของกลุ่มผู้ชุมนุม : กรณีศึกษา กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กับ กลุ่มเยาวชนปลดแอกหรือคณะราษฎร 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 14 กุมภาพันธ์ 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสาร Journal of Modern Learning Development 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความแตกต่างของสิทธิ์ที่จะได้รับการประกันตัวของกลุ่มผู้ชุมนุมในอดีตและปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวของผู้ชุมนุมที่เกิดขึ้นต่อการเมืองไทยในอดีต 2) เพื่อศึกษาสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวของผู้ชุมนุมกลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือคณะราษฎรที่มีการชุมนุมกันอยู่ในเวลาปัจจุบัน 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวของผู้ชุมนุมในสถานการณ์เกิดขึ้นต่อการเมืองไทยในอดีตและกลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือคณะราษฎรที่มีการชุมนุมกันอยู่ในเวลาปัจจุบัน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับงานวิจัย จากวิทยานิพนธ์ บทความ เว็บไซต์ นำมาสรุป วิเคราะห์เปรียบเทียบหาความสอดคล้องกัน หรือความแตกต่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตกับปัจจุบัน กับหลักการทางวิชาการ หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า สิทธิที่จะได้รับการประกันตัวของผู้ชุมนุมที่เกิดขึ้นต่อการเมืองไทยในอดีตนั้นการประกันตัวของกลุ่ม กปปส. ศาลพิจารณาว่าผู้ที่ถูกจับจากการชุมนุมต้องไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ศาลจึงให้สิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวโดยเพิ่มเงื่อนไข คือ การเพิ่มราคาประกันตัวและห้ามเดินทางออกนอกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาต และสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวของผู้ชุมนุมกลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือคณะราษฎรที่มีการชุมนุมกันอยู่ในเวลาปัจจุบัน ศาลพิจารณาให้เหตุผลไปในแนวทางเดียวกันว่า การชุมนุมในลักษณะนี้ เป็นคดีมีอัตราโทษสูง ผู้ถูกจับจากการชุมนุมมีพฤติการณ์ที่มีความร้ายแรง และเกรงว่าจะหลบหนี และ/หรือ กลัวว่าจะไปก่อเหตุอันตรายประเภทอื่น หรือจะไปกระทำความผิดซ้ำ ซึ่งเป็นดุลยพินิจของศาล จึงทำให้ผู้ชุมนุมที่ตกเป็นจำเลยมักไม่ได้รับสิทธิที่จะได้รับการประกันตัว การชุมนุมทั้ง 2 เหตุการณ์ มีการบังคับใช้กฎหมายเดียวกัน แต่มีการใช้ดุลพินิจในการกำหนดบทลงโทษต่างกัน คือ การประกันของการชุมนุมในอดีต ศาลมักให้สิทธิการปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี แต่การประกันตัวของกลุ่มผู้ชุมนุมในปัจจุบัน ศาลมักไม่ให้สิทธิการประกันตัว เนื่องจากเป็นคดีมีอัตราโทษสูง จำเลยมีพฤติการณ์ที่มีความร้ายแรง และเกรงว่าจะหลบหนี และ/หรือ กลัวว่าจะจำเลยจะก่อเหตุอันตรายประเภทอื่น หรือจำเลยจะกระทำความผิดซ้ำ  
     คำสำคัญ การชุมนุม; ผู้ชุมนุม; สิทธิการประกันตัว 
ผู้เขียน
635280039-4 น.ส. น่านนภา พันธุ์เสือ [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0