2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาอุปกรณ์พยุงลำตัวสำหรับกระตุ้นการทรงตัวในท่านั่งของเด็กสมองพิการ Development of body support for balance stimulation in sitting posture of children with cerebral palsy 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 มกราคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 11 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยพะเยา 
     สถานที่จัดประชุม รูปแบบออนไลน์ มหาวิทยาลัยพะเยา ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา  
     จังหวัด/รัฐ พะเยา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มกราคม 2565 
     ถึง 28 มกราคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2565 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 561-576 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดอุปกรณ์พยุงลำตัวขณะนั่งทำกิจกรรมในเด็กสมองพิการและทดสอบการใช้ชุดอุปกรณ์พยุงลำตัวฯ โดยพัฒนาชุดอุปกรณ์พยุงลำตัวฯ พร้อมคู่มือการใช้งานและแผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวขณะพยุงลำตัวในท่านั่งของเด็กสมองพิการและนำไปทดลองใช้กับเด็กสมองพิการ จำนวน 5 คน อายุ 2–6 ปี ที่มีความสามารถการเคลื่อนไหวตามเกณฑ์ Gross Motor Function Classification System (GMFCS) 3 หรือ 4 โดยคัดเลือกแบบ Purposive Sampling มีการประเมินความสามารถในการทรงตัวแบบเป็นลำดับแยกส่วนตามเกณฑ์ Segmental assessment of trunk control (SATCo) ก่อนและหลังการเข้าร่วมการฝึก โดยรับการฝึกสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ชุดอุปกรณ์พยุงลำตัวฯ สามารถรับน้ำหนักได้ 60 กิโลกรัม โดยไม่เกิดอันตรายขณะใช้งาน ค่าดัชนีความสอดคล้องของอุปกรณ์กับจุดประสงค์ (Index of Consistency,IOC) เท่ากับ 0.93 คะแนน SATCo หลังการฝึกเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนฝึกด้วยชุดอุปกรณ์พยุงลำตัวฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p<0.05 สรุปได้ว่า ชุดอุปกรณ์พยุงลำตัวฯสามารถใช้งานได้จริง ชุดอุปกรณ์พยุงลำตัวฯ มีแนวโน้มทำให้ความสามารถในการทรงตัวแบบเป็นลำดับแยกส่วนของเด็กสมองพิการเพิ่มขึ้น และร้อยละ 95.7 ของผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการใช้งานชุดอุปกรณ์พยุงลำตัวฯ ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.86 เต็ม 5 คะแนน คำสำคัญ: สมองพิการ ชุดอุปกรณ์พยุงลำตัว การควบคุมลำตัวแบบเป็นลำดับแยกส่วน The purposes of this study were to develop and apply body support usage during activity doing in seat position of cerebral-palsy children. Body support aids during activity doing in seat position of cerebral-palsy children and study plans of movement activity doing in seat position for cerebral-palsy children were developed. And apply to 5 children with cerebral palsy, aged 2 – 6 years, had gross motor function classification system (GMFCS) level 3 or 4 selected by purposive sampling. The segmental assessment of trunk control (SATCo) was used to verify the trunk control during sitting before and after activity training in seat position. Training time were 60 minutes/day 3 times/week, for total of 8 weeks. Result found that the body support aids can bear 60 kgs of body weight with no dangerous consequence occur. The result of index of consistency (IOC) was 0.93. The SATCo scores were higher at post-training compared with that of pre-training. In conclusion, body support aids is practically used. Cerebral-palsy children tends to have a higher level of SATCo after training with body support aids. In addition, 95.7% of users had high level of satisfaction with the mean score at 4.86 of 5. Keywords: cerebral palsy, Body support aids, Segmental assessment of trunk control 
ผู้เขียน
625050038-7 นาย ธนัท กาวิทาโร [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0