2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 28 กุมภาพันธ์ 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร สารวิชาการสาธารณสุขชุมชน (Academic Journal of Community Public Health) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
     ISBN/ISSN สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม – กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ โรคอ้วนเป็นปัญหาสำคัญในเด็กวัยเรียนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและต้องป้องกันเพื่อลดอัตราการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสามกลุ่มวัดผลก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 114 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง A กลุ่มทดลอง B และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวนกลุ่มละ 38 คน กลุ่มทดลอง A ได้รับโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มทดลอง B ได้รับโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.โปรแกรมการทดลองประกอบด้วย 2 โปรแกรม คือโปรแกรม A การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโปรแกรม B การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเรื่องมูลทั่วไปของนักเรียน ส่วนที่ 2 แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วน ส่วนที่ 3 แบบประเมินพฤติกรรมในการป้องกันโรคอ้วน และส่วนที่ 4 แบบประเมินน้ำหนัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ One-way Anova (F-test) เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันโรคอ้วน เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างกลุ่มหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง B มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วน 1.ด้านความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคอ้วนแตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 2.7, p<0.001), และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 1.3, p <0.001) 2.ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วน แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 3.2, p <0.001)) และกลุ่มเปรียบเทียบ (mean diff : 1.23, p <0.001) 3.ด้านทักษะการสื่อสารในการป้องกันโรคอ้วน แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 7.2, p<0.001), และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 2.9, p <0.001) 4.ด้านการรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันโรคอ้วนแตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 9.1, p<0.001), และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 3.1, p <0.001) 5.ด้านทักษะการตัดสินใจในการป้องกันโรคอ้วน แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 6.5, p<0.001), และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 1.9, p <0.001) และ6.ด้านการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วน แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 10.0, p<0.001), และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 5.0, p <0.001) กลุ่มทดลอง B มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการป้องกันโรคอ้วน 1.พฤติกรรมการบริโภคอาหาร แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 8.2, p <0.001) และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 4.5, p <0.001) 2.พฤติกรรมการออกกำลังกาย แตกต่าง จากกลุ่มทดลอง A (mean diff : 6.4, p <0.001)) และกลุ่มเปรียบเทียบ(mean diff : 4.4, p <0.001) และพบว่าค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่ลดลงระหว่างกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มและกลุ่มเปรียบเทียบ ไม่แตกต่างกัน (p =0.67) โดยสรุปผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมนี้ สามารถเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนได้ ดังนั้น จึงควรมีการนำไปประยุกต์ใช้ในเด็กวัยเรียนกลุ่มอื่นๆ ได้  
     คำสำคัญ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เด็กวัยเรียน,ภาวะน้ำหนักเกิน, โรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ 
ผู้เขียน
625110020-3 น.ส. สุกัญญา คณะวาปี [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0