2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการพัฒนาแบบสอบถามการถูกกลั่นแกล้งสำหรับเด็กวัยรุ่นไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 มิถุนายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
     สถานที่จัดประชุม ระบบออนไลน์โดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 มิถุนายน 2565 
     ถึง 13 มิถุนายน 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 
     Issue (เล่มที่) รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 
     หน้าที่พิมพ์ รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 
     Editors/edition/publisher บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบสอบถามการถูกกลั่นแกล้งสำหรับเด็กวัยรุ่นไทย และเพื่ออธิบายรูปแบบการถูกกลั่นแกล้งในเด็กวัยรุ่นไทย ซึ่งพัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความหมายของการถูกกลั่นแกล้ง ประเภทของการถูกกลั่นแกล้ง ตลอดจนปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการถูกกลั่นแกล้ง ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยทดสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (Validity) ด้วยการหาดรรชนีความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Index) และทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) ด้วยการหาสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี และกำลังศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือพบว่าแบบสอบถามมีค่าความความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.965 ผลการศึกษาพบว่าเด็กวัยรุ่นมีอายุเฉลี่ย 14.99 ปี (S.D.=1.52) เป็นเด็กวัยรุ่นเพศชายร้อยละ 50 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาพบว่าเด็กวัยรุ่นถูกกลั่นแกล้งคิดเป็นร้อยละ 93.33 (28 คน) ทั้งยังพบว่าคะแนนเฉลี่ยการถูกกลั่นแกล้งโดยรวมทุกด้านเท่ากับ 53.07 คะแนน (S.D.=22.75) การถูกกลั่นแกล้งทางด้านวาจาเป็นการถูกกลั่นแกล้งที่พบว่ามีมากที่สุดเท่ากับร้อยละ 93.33 (28 คน) จากข้อมูลที่ได้ทำให้ผู้วิจัยทราบถึงการถูกกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นในเด็กวัยรุ่นตามบริบทจังหวัดขอนแก่น ผู้วิจัยจึงควรพัฒนาแบบสอบถามให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เพื่อให้ผู้ที่นำแบบสอบถามไปใช้สามารถคัดกรองการถูกกลั่นแกล้งในเด็กวัยรุ่นไทย ตลอดจนให้การดูแลและให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมต่อไป  
ผู้เขียน
635060031-6 น.ส. สุธิดา สุวรรณราช [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0